DSpace Repository

การสังเคราะห์วัสดุรูพรุนซิลิกาที่มีหมู่เอมีนเป็นหมู่ฟังก์ชันด้วยวิธี Co-condensation

Show simple item record

dc.contributor.author ศรีสุดา แซ่อึ้ง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:23Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:23Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1202
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ศึกษาการสังเคราะห์วัสดุรูพรุนซิลิกาที่มีหมู่เอมีนเป็นฟังก์ชันด้วยวิธีการสังเคราะห์แบบโคคอนเดนเซชันระหว่างสารตั้งต้น 2 ประเภทคือ สารตั้งต้นประเภท alkoxysilane ซึ่งได้แก่ tetraethoxysilane (TEOS) และสารตั้งต้นประเภท organo alkoxysilane ได้แก่ 3-aminopropyl-trimethoxysilane (APTMS), n-(2-aminoethyl)-3- aminopropyltrimethoxysilane (AEAP) และ 3-[2-(2-aminoethylamino)ethylamino] propyl-trimethoxysilane (AEEA) โดยมีสารลดแรงตึงผิว cetyltrimethylammonium bromide (CTAB) เป็นเทมเพลทโดยศึกษาผลของความยาวลิแกนด์ของสารตั้งต้นเอมีนและอัตราส่วนโดยโมลของน้ำต่อสารตั้งต้นที่มีต่อโครงสร้างรูพรุนของวัสดุ ที่สังเคราะห์ได้ และวิเคราะห์คุฒสมบัติต่างๆ ของวัสดุรูพรุน ได้แก่ พื้นที่ผิวจำพวกปริมาณรูพรุน การกระจายตัวรูพรุน หมูฟังก์ชันและการสลายตัวทางความร้อน จากผลวิจัยพบว่าความยาวของลิแกนด์เอมีนในสารตั้งต้นมีผลให้พื้นที่ผิวและปริมาณรูพรุนน้อยลง ตัวอย่างที่สังเคราะห์จากสารตั้งต้น TEOS และ APTMS ซึ่งมีลิแกนด์ที่สั้นที่สุด พบว่ามีพื้นที่ผิวสูงที่สุด เท่ากับ 237.30 m²/g และปริมาตรรูพรุน เท่ากับ 0.814 cm³/g โดยที่อัตราส่วนของน้ำต่อสารตั้งต้นที่เหมาะสมในการสังเคราะห์มากที่สุดคือ อัตราส่วนเท่ากับ 80 และผลจากการวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันพบว่า วัสดุรูพรุนดังกล่าวมีหมู่เอมีนปรากฎอยู่บนพื้นผิวรูพรุนตามสมมติฐาน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานดูดซับได้ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject วัสดุรูพรุน th_TH
dc.subject สารตั้งต้น th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การสังเคราะห์วัสดุรูพรุนซิลิกาที่มีหมู่เอมีนเป็นหมู่ฟังก์ชันด้วยวิธี Co-condensation th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2553
dc.description.abstractalternative Amine-functionalized mesoporous materials were successfully synthesized by c0-c0ndensation of tetraethoxysilane (TEOS) and organo alkoxysilane with different amine group : 3-aminopropyl-trimethoxysilane (APTMS), n-(2-aminoethyl)-3- aminopropyltrimethoxysilane (AEAP) and 3-[2-(2-aminoethylamino)ethylamino] propyl-trimethoxysilane (AEEA). Cetyltrimethylammonium bromide (CTAB) was used as template. Specific surface area of the derived materials depends on the length of amino ligand and molar ratio of water to precursors. The materials synthesized from TEOS and APTMS which contains the shortest amino ligand yields the highest specific surface area of 237.30 m²/g and highest pore volume of 0.814 cm³/g. The molar ratio of water to precursors of 80 is the most suitable for preparing the amine-functionalized mesoporous silica materials in this study. These materials can be further applied for the adsorption application. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account