DSpace Repository

คุณภาพบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ปี 2545

Show simple item record

dc.contributor.author สุภัสตรา เก้าประดิษฐ์ ทรัพย์ชูกุล th
dc.contributor.author ประจักษ์ น้ำประสานไทย th
dc.contributor.author เรวัต แสงสุริยงค์ th
dc.contributor.author บุญเชิด หนูอิ่ม th
dc.contributor.author สุเนตร สุวรรณละออง th
dc.contributor.author พรทิพย์ พันธุ์ยุรา th
dc.contributor.author รัตนา วิงวอน th
dc.contributor.author กนกพร ตันวัฒนะ th
dc.contributor.author สุธิดา แจ้งประจักษ์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:16Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:16Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1098
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง คุณภาพของบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน ปี 2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตและเปรียบเทียบคุณภาพบัณฑิตประเภทโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัย ประเภทที่มหาวิทยาลัยสอบคัดเลือกตรงและประเภทที่สอบผ่านทบวง มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นบัณฑิต และผู้ปกครอง โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ปี 2545 ในมิติของนิสิต- คุณภาพของบัณฑิตทั้งด้านการเรียนการสอนและคุณภาพบัณฑิตอยู่ในระดับมากขึ้นไปเกือบทุกเรื่อง แต่มีบางประเด็นที่นิสิตบางคนให้คะแนนอยู่ในระดับน้อยมากถึงต้องปรับปรุง เช่น ด้านการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร โดยเฉพาะเรื่องการผลิตบัณฑิตได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ด้านอาจารย์มีระดับมาก โดยเฉพาะเรื่อง มีการวัดผลและประเมินผลอย่างยุติธรรม ในมิติของผู้ปกครอง ซึ่งคุณภาพของบัณฑิตทั้งในด้านความรู้ความสามารถ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านบุคลิกภาพในการปฏิบัติงาน และด้านคุณธรรม จริยธรรมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากขึ้นไป ยกเว้นเรื่องความสามารถในการประเมินผลงานและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยทางด้านการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต ในด้านหลักสูตร นิสิตส่วนใหญ่ให้คะแนนระดับมากขึ้นไปเกือบทุกข้อ ในด้านอาจารย์ นิสิตประเมินระดับมากในด้านพฤติกรรมการสอน รูปแบบการสอนที่อาจารย์รายวิชาเอกใช้ และคุณลักษณะของอาจารย์ และในด้านนิสิต ด้านรูปแบบการเรียนของนิสิตตามการรับรู้ของอาจารย์ พบว่านิสิตส่วนใหญ่ให้คะแนนมากขึ้นไปในเรื่องรูปแบบการเรียนแบบพึ่งพา แบบร่วมมือ และแบบอิสระ ด้านการใช้เวลาระหว่างเรียนในระดับปริญญา พบว่า นิสิตส่วนใหญ่ให้น้ำหนักคะแนนที่เกี่ยวกับการเข้าเรียนมากที่สุด และน้ำหนักคะแนนที่น้อยที่สุดคือการทำงาน Part time และ 3) เปรียบเทียบคุณภาพบัณฑิตหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนปี 2545 ทั้งสามประเภทคือ ประเภทโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัย ประเภทที่มหาวิทยาลัยสอบคัดเลือกตรงและประเภทที่สอบผ่านทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า คุณภาพด้านการเรียนการสอนและคุณภาพของบัณฑิตทั้งสามประเภทไม่มีความแตกต่างกัน th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คุณภาพบัณฑิต th_TH
dc.subject หลักสูตร th_TH
dc.title คุณภาพบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ปี 2545 th_TH
dc.title.alternative Quality of community development graduates of the 2002 curriculum th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative The research objective of Quality of Community Development Graduates of the 2002 Curriculum were to evaluate the quality of community development graduates, to explore the teaching factor affecting the graduates ‘ quality and to compare the graduates ‘ quality of three types: the university’ s special project, the university’s direct admission and the central entrance examination. The sample consisted of graduates and their parents. The quantitative and qualitative methods were used in this study. The results were as follows 1) Quality of B.A degree graduates in community development of the 2002 curriculum. The students’ dimension: Both of the teaching quality and the graduates’ quality were at a high level for almost every issues. However the issues which were at a low or should be improved level were teaching technique and the course curriculum, especially the production of graduate to meet the needs of the labor market. The instructor performance was at high level, particularly having the rational assessment and evaluation. The parents’ dimension: The quality of graduates in terms of knowledge, performance, working skills, personality and morality were at a high level, except the ability in evaluating performance and the ability to use the English language were at the moderate level. 2) Teaching factor affecting quality of the graduates. The curriculum: Most graduates scored high level almost all issues. The Lecturers: the graduates evaluated teaching behaviors, teaching styles, and teacher characteristics at high level. The graduates: the students’ learning styles as perceived by the teacher were at high level for the methods of dependency, cooperative and independent learning. The issue of time use during study found that most graduates scored class attention at a high level while evaluated working part time at lowest level. 3) Comparing the graduates’ quality of three types: the university’s special project, the university’s direct admission and the central entrance examination. The study found the teaching quality and the quality of the graduates of those three types had no statically significant differences.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account