DSpace Repository

การใช้ฮอร์โมนฟลูออกซิเมสเตอโรนในการแปลงเพศปลานิล

Show simple item record

dc.contributor.author บุญรัตน์ ประทุมชาติ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:12Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:12Z
dc.date.issued 2541
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1041
dc.description.abstract การศึกษาหาระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนฟลูออกซิเมสเตอโรนผสมในอาหาร (รำละเอียด ผสมปลาป่น) ที่เหมาะสมในการแปลงเพศปลานิล Oreochromis niloticus (Linnaeus) ให้เป็นเพศผู้ทั้งหมดด้วยการให้อาหารผสมฮอร์โมนฟลูออกซิเมสเตอโรน ในอัตรา 5 และ 3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และกลุ่มควบคุม (ปราศจากฮอร์โมน) กับลูกปลานิลอายุ 7 วัน เป็นเวลาทั้งสิ้น 40 วัน หลังจากได้นำลูกปลามาตรวจสอบเพศ โดยวิธีทางเนื้อเยื่อวิทยา พบว่าที่ระดับ 5 และ 3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถแปลงเพศลูกปลานิลได้ทั้งหมดซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่พบลูกปลาเพศผู้เพียง 59.54+4.12% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P<0.05) โดยอัตราการรอดตายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อนำลูกปลานิลทุกการทดลองมาเลี้ยงในกระชังไนลอนตาถี่ขนาด 1 เมตร x 1.5 เมตร x 0.9 เมตร ด้วยความหนาแน่น 266 ตัวต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปโปรตีนประมาณ 20% เป็นเวลา 125 วันจากการตรวจสอบเพศด้วยการผ่าตัดพบว่าปลาที่ได้รับฮอร์โมนฟลูออกซิเมสเตอโรนที่ระดับ 5 และ3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ยังคงมีผลเหนี่ยวนำให้เป็นปลาเพศผู้ 100.00±0.00% และ 96.00±2.50% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุม (64.00±2.40%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขณะที่การเจริญเติบโตอัตราการเจริญเติบโต ผลผลิตรวมและอัตราการรอดตายไม่มีควมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กล่าวคือ มีน้ำหนัก (ความยาว) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 8.04±0.91 กรัม 6.25±0.26 เซนติเมตร 8.27±0.59 กรัม (6.36±0.31 เซนติเมตร) และ 7.39±0.33 กรัม (6.36±0.31 เซนติเมตร) และ 7.39±0.33 กรัม (6.19±0.05 เซนติเมตร) อัตราการเจริญเติบโตโดยน้ำหนัก (Slope) เท่ากับ 0.0516, 0.0495 และ 0.0516 ผลผลิตรวมเท่ากับ 0.95±0.10, 0.97±0.15 และ 1.00±0.08 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และมีอัตราการรอดตายเฉลี่ย 61.83%, 50.17% และ 57.83% ในปลากลุ่มที่ได้รับฮอร์โมน 5 และ 3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และกลุ่มควบคุมตามลำดับ หลังจากนั้นจุงสุ่มปลาส่วนหนึ่งมาเลี้ยงทดสอบต่อในกระชังตาห่าง ขนาด 0.5 เมตร x1 เมตร x 0.5 เมตร ด้วยความหนาแน่น 140 ตัวต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปโปรตีนประมาน 35% เป็นเวลา 45 วัน ถึงแม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) อย่างไรก็ตามแนวโน้มในกลุ่มปลานิลที่ได้รับฮอร์โมนพบว่า มีการเจริญเติบโต อัตราการเจริญเติบโต ผลผลิตรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยอัตราการรอดตายยังคงไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ปลานิล - - การขยายพันธุ์ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การใช้ฮอร์โมนฟลูออกซิเมสเตอโรนในการแปลงเพศปลานิล th_TH
dc.title.alternative Application of fluxymesterone to induce sx reversal in tilapia Oreochromis niloticus (Linnaeus) en
dc.type Resarch
dc.year 2541
dc.description.abstractalternative The optimum dosage of fluoxymesterone mixed in rice bran and fish meal on sex reversal in tilapia Oreochromis niloticus (Linnaeus) was investigated. Seven-day old fish were fed with hormonal feed at concentrations of 5 and 3 mg/kg and without hormone (control) during a period of 40 day. From histological studies concentrations at 5 and 3 mg/kg can produced 100% male which was significantly higher than controls (59.54±4.12%) (P>0.05). Growth, growth rate, production and survival rate of hormonal treated and untreated fishes were tested in 1.0m x 1.5m x 0.9m nylon cages at densties of 266 fish/m³ in 50 m² earthen pond for 125 days. They were fed twice daily with 20% protein feed. From dissection, results showed that 100±2.50% and 96±2.40% male appeared in hormonal treated fish groups of 5 and 3mg/kg showed significantly higher than controls (64%) (P>0.05). Growth, growth rate (slope of regression). Production and survival rate were 8.04±0.91 g (6.25±0.26 cm), 0.0516, 0.95±0.10 kg/m³, 61.83% for 5 mg/kg hormonal treated fish 8.27±0.59 g (6.36±0.31 cm) 0.0498, 0.97±0.15 kg/m³, 50.17% for 3 mg/kg hormonal treated fish and 7.39±0.33 g (6.19±0.05) cm 0.0516, 1.00±0.08 kg/m³, 57.83% for control, respectively. After using a larger mesh net (0.5m x 1m x 0.5m in size) at density of 140 fish/m³ fed with 35% protein artificial feed were tested for 45 days. Although growth, growth rate and production were not significantly different among groups (P>0.05), however tendency of them in hormonal treated fishes seem to be higher than control. No significant difference was detected for survival rate (P>0.05). en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account