DSpace Repository

การพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการแก้ปัญหาโรครากเน่าของผักสลัดที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์

Show simple item record

dc.contributor.author อนุเทพ ภาสุระ
dc.contributor.author เยาวลักษณ์ ไชยรัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:12Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:12Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1035
dc.description.abstract ปัญหาโรครากเน่าในพืชที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเชื้อก่อโรคสามารถแพร่ระบาดไปได้ในระบบปลูกอย่างรวดเร็ว การศึกษานี้ได้ทำการแยกเชื้อรากก่อโรครากเน่าจากรากสลัดที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์สารถแยกได้จำนวน 11 ไฮโซเลตและทุกไอโซเลตสามารถทำให้ผักสลัดเรดโอ๊ดเกิดโรคได้โดยเชื้อราก่อโรคไฮโซเลต GS-4 มีความสามารถก่อให้เกิดโรคมากที่สุดถึง 96.7% เมื่อจัดจำแนกเบื้องต้นโดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยา สามารถจำแนกได้เป็นเชื้อรา Pythium sp. จากการศึกษาหาปริมาณเริ่มต้น เชื้อราก่อโรครากเน่า Pythium sp. ไอโซเลต GS-4 ที่ก่อให้เกิดโรครากเน่าในผักสลัดกรีนโอ๊ต พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 10³ propagule/มิลลิลิตรขึ้นไปสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเจริญเติบโตของพืชในด้านของน้ำหนักสดของส่วนต้น ส่วนความเสียหายต่อระบบรากพืชพบว่าปริมาณของเชื้อเริ่มต้นที่ 10 propagule/มิลลิลิตร เป็นระดับเริ่มต้นที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของรากผักสดกรีนโอ๊ด โดยที่ระดับความเข้มข้นของเชื้อราก่อโรคมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืชและระดับความรุนแรงของการเกิดโรค ดังนั้น การจัดการโรครากเน่าจึงควรมุ่งเน้นที่การควบคุมไม่ให้เชื้อราก่อโรคอยู่ในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชที่ปลูก ส่วนการนำการควบคุมทางชีวภาพโดยใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต GE-1 ที่แยกได้จากส่วนด้านในของรากผักกาด พบว่า มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราก่อโรค Pythium sp. ไอโซเลต GS-4 มากที่สุดโดยสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราก่อโรคบนอาหารเลี้ยงเชื้อ SDA ได้สูงสุดถึงร้อยละ 47.5 เมื่อนำแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต GE-1 ที่ความเข้มข้นของแบคทีเรียที่ 10⁷ และ 10⁸ cfu/มล. ที่เติมเข้าไปในระบบปลูกในสภาวะที่มีเชื้อราก่อโรคมีน้ำหนักสดของผักสลัดเรดโอ๊คมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่ไม่ได้เติมเชื้อราก่อโรคการเติมแบคทีเรียปฏิปักษ์ GE-1 จึงน่าจะมีความเป็นไปได้ในการแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต GE-1 ในการควบคุมโรครากเน่าในผักสลัดเรดโอ๊คได้ ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกในการลดการใช้สารเคมีกำจัดโรคพืชในการปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ Root rot diseases of plants grow in hydroponic system are very important because pathogen can spread in the growing systems. This study aims to isolate fungal root rot pathogens of red oak grown in hydroponic system. Eleven fungal isolates from the diseased lettuce plants grown in a hydroponic system were isolated and tested for their pathogenicity. It was found that all 11 fungal isolates could cause a typical symptom of root rot disease in red oak seedling. The fungal isolate GS-4 was the most aggressive of causing the disease in seedling with 96.7% of seedling infection. Preliminary classification of this fungal pathogen based on morphology could be classified as a fungus Pythium sp. Minimum concentration of Pythium sp. Isolate GS-4 that cause root rot in lettuce green oats was investigated. It was show that concentration of the isolate GS-4 at 10³ propagule/ml could cause damage to the plant and could reduce of red oak lettuce plants in term of fresh weight. The concentration of pathogen at 10 propagule/ml wat the beginning concentration causing damage to the root system of red oak lettuce roots. The level of root disease symptom was pathogen concentration dependent. The study on efficacy of a antagonistic bacteria in biological control of root rot disease of vegetable grown in hydroponic was investigated. It was found that the bacterium GE-1 was most effective in inhibiting the growth of fugal pathogen Pythium sp. Isolate GS-4 on PDA agar up to 47.5%. It was found that concentrations of GE-1 at 10⁷ and 10⁸ cfu/ml could promote the growth of red oak lettuce plants and could reduce root rot disease when compared to the control treatment. In conclusion, bacterium isolate GE-1 can reduce the incidence and severity of root rot in red oak lettuce in a hydroponic system. Therefore, using a bacterium isolate GE-1 may be an alternative way to reduce the use of chemical pesticides in controlling of root rot diseases in hydroponic growing systems. th_TH
dc.description.sponsorship โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2554 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject จุลินทรีย์ - - การใช้ประโยชน์ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title การพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการแก้ปัญหาโรครากเน่าของผักสลัดที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ th_TH
dc.title.alternative Development and Technology Transfer for Using Antagonistic Microorganisms in Controlling Root Rot Diseases of lettuce Grown in Hydroponic System th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2554


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account