DSpace Repository

การบริหารคนเก่งเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author พรรัตน์ แสดงหาญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:12Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:12Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1030
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยเรื่อง การบริหารคนเก่งเพื่อรองรับประชาคมเศราฐกิจอาเซียนของสถานประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงกระบวนการบริหารคนเก่งของสถานประกอบการ 2) เปรียบเทียบกระบวนการบริหารคนเก่ง โดยจำแนกตามประเภทของธุรกิจและขนาดของสถานประกอบการ 3) ศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้บริหารงานทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อการบริหารคนเก่งกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารงานทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อการบริหารคนเก่งกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำแนกตามประเภทของธุรกิจและขนาดของสถานประกอบการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 261 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 ตัวอย่าง ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ค่าสถิติเชิงพรรณาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติอนุมานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุจำแนกทางเดียว ผลการวิจัยพบว่าโดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าสถานประกอบการมีการดำเนินการบริหารคนเก่งและมีการเตรียมความพร้อมกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบกระบวนการบริหารคนเก่งของสถานประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง พบว่า สถานประกอบการที่มีประเภทของธุรกิจและขนาดแตกต่างกัน มีการดำเนินการในกระบวนการบริหารคนเก่งไม่แตกต่างกัน ส่วนความเห็นต่อการบริหารคนเก่งกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในขนาดของสถานประกอบการที่แตกต่างกัน มีความเห็นต่อการบริหารคนเก่งกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแตกต่างกัน ในด้านความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมเศราฐกิจอาเซียน และด้านความมั่นใจที่มีต่อการบริหารคนเก่งขององค์การ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การบริหารคนเก่ง th_TH
dc.subject ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title การบริหารคนเก่งเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง th_TH
dc.title.alternative Talent Management for the Forthcoming Asean Economic Community of Companies in Eastern Seabroad Industrial Estate, Rayong province en
dc.type Research
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative The study of Talent Management for the Forthcoming Asean Economic Community of Companies in Eastern Seabroad Industrial Estate, Rayong province,is aimed at investigating the talent management practices and preparations for the forthcoming AEC. It also examinedwhether these practices and preparations differ in accordance with the company's characteristics. Quantitative research methodology was employed in this study. One hundred and twenty questionnaires were distributed and 98 were returned. The findings revealed that the companies in the Eastern Seaboard Industrial Estate in Rayong Pro vince utilized the talent management practices at a moderate level. Industrial type and company size did not show statistical significance regarding the talent management practices. It was also found that there was no significant effect of company size on the talent management practices. Only one statistical implication was found-that company size was significant in terms of the preparations for the AEC. Respondents from companies of different sizes exhibited different preparations for the AEC differently from the point of view of understanding the impact of the AEC and confidence in their talent management. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account