กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9963
ชื่อเรื่อง: เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยความขัดแย้งทางวาทกรรมของการแพทย์แผนปัจจุบันการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกเกี่ยวกับการปฎิรูปทางการแพทย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Politicl economy on discourse conflicting over medicl reform of conventionl medicine, trditionl thi medicine, nd lterntive medicine
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
จรัสศรี รูปขำดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
การแพทย์ทางเลือก
ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
การแพทย์แผนไทย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความขัดแย้งทางวาทกรรมระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในแนวทางวิธีวิทยาทางเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์มีลักษณะวิพากษ์ข้อมูลไปสู่กระบวนการวิเคราะห์จากการตีความระหว่างบริบทกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกควบคู่กับการสังเกตการณ์สัมผัส ผลการวิจัยพบว่า การแพทย์แผนปัจจุบันใช้ปฏิบัติการทางวาทกรรมเพื่อสถาปนาอำนาจนำให้กับฝ่ายตนเอง ในการปฏิรูปการแพทย์วิเคราะห์ได้ 5 องค์ประกอบ คือ 1. สถาปนาตนเองด้วยระบบวิทยาศาสตร์ 2. ใช้สถาบันการศึกษาเป็นตัวกำหนดผู้เชี่ยวชาญ 3. ปฏิรูประบบราชการ 4. การพัฒนาเทคโนโลยีและการแพทย์ 5. การบัญญัติกฎหมายจากองค์ประกอบทั้ง 5 ประการนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยทั้งระบบรวมถึง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในสังคมให้เชื่อฟัง “คำสั่ง” ของแพทย์แผนปัจจุบันในการอธิบายปฏิบัติการทางวาท กรรมโดยใช้ “รัฐ” เป็นเครื่องมือในการครอบงำกดทับกีดกันการแพทย์แผนไทยโดยพบว่า ปฏิบัติการทางวาท กรรมมีการตอบโต้ 6 องค์ประกอบ คือ 1. การตอบโต้ด้วยประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย 2. การชำระตำรายา ไทย 3. การสร้างระบบการศึกษา 4. การกำหนดผู้เชี่ยวชาญในระบบราชการ 5. การสร้างนวัตกรรมยาไทย 6. การ บัญญัติกฎหมายองค์ประกอบทั้ง 6 สามารถยึดโยงปฏิบัติการทางวาทกรรมต่อการแพทย์ทางเลือกโดยพบว่า 1. การต่อต้านความเป็นวิทยาศาสตร์ของการแพทย์แผนปัจจุบัน 2. การสร้างองค์ความรู้ผ่านวิธีการรักษาโรคแบบ องค์รวมของการแพทย์ทางเลือก 3. ปฏิบัติการทางวาทกรรมผ่านการสร้างนวัตกรรมทางสุขภาพ 4. ปฏิบัติการทางวาทกรรมในบริบทการใช้นโยบายของรัฐบาลเพื่อสร้างพื้นที่ทางสังคม 5. การสร้างความชอบธรรมผ่าน ปฏิบัติการทางกฎหมายโดยส่งผลต่อการต่อสู้กัน พบว่า มี 3 องค์ประกอบ คือ 1. การต่อสู้ระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์แผนไทย 2. การต่อสู้ระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์ทางเลือก 3. การต่อสู้ของการแพทย์แผนไทยกับการแพทย์ทางเลือกโดยทั้ง 3 องค์ประกอบส่งผลต่อตลาดยาโดยมีการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมการเมืองผ่านการปฏิรูปการแพทย์ผ่านระบบสุขภาพในระดับการพัฒนาแล้วทางวัฒนธรรม
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9963
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55820014.pdf2.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น