กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9952
ชื่อเรื่อง: การจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The mngement of foriegn workers in fishery sector of thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
วีระชาติ แสงทวี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: แรงงานต่างด้าว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
แรงงานต่างด้าว
การรับรองแรงงานต่างด้าว
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทยเพื่อศึกษานโยบายภาครัฐในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทยเพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของการนำนโยบายภาครัฐไปใช้ในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทยและเพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย รูปแบบการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการได้มาของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1. การศึกษาข้อมูลเอกสาร (Document Research) และ 2. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ ทั้งที่เป็นผู้ควบคุมนโยบายหรือมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการประมงทางทะเลต่าง ๆ และผู้ที่ปฏิบัติงานจริงของภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการประมง แรงงานต่างด้าวภาคการประมงเอง ตลอดจนผู้นำชุมชนและประชาชนที่อยู่ในเขตชุมชนของชาวประมงอาศัยอยู่ จำนวน 34 รายการ วิเคราะห์ข้อมูลจะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารวิธีการวิเคราะห์ คือ พรรณนาข้อมูลและวิเคราะห์ตีความข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบสามเส้าระเบียบวิธีวิทยา (Methodology triangle) ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานการณ์ปัญหาแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย พบว่า จำนวนแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทยนั้น มีจำนวน 41,231 คน ยังคงมีความขาดแคลนแรงงานเป็นจำนวน 30,000 – 40,000 คน ข้อมูลด้านด้านแรงงานผิดกฎหมายในช่วงระหว่างปี 2559 – 2562 จำนวนคดีการทำประมงผิดกฎหมาย ทั้งคดีแรงงานและคดีประมง เป็นจำนวนถึง 5,135คดี ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านความเชื่อมั่นจากนานาชาติซึ่งอาจก่อให้เกิดการคว่ำบาตรในการซื้อสินค้าภาคประมงจากประเทศไทย 2. กฎหมายหลักที่ใช้สำหรับการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคประมงนั้น มี 7 ฉบับ หลัก ได้แก่ พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522, พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551และพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562 รวมถึงคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2558 และ 24/2560 เรื่องการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม มีหน่วยงานหลักที่สำคัญในการรับผิดชอบ คือ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กรมเจ้าท่ากรมประมงกองบังคับการตำรวจน้ำ และกองทัพต่าง ๆ นโยบายและมาตรการภาครัฐในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทยนั้นถูกกำหนดกรอบแนวทางให้ยึดโยงกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ20 ปี (พ.ศ. 2560- 2579) ร่วมกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560- 2564)ยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 –2579) และนโยบายความมั่น คงแห่งชาติ (พ.ศ.2558-2564) เพื่อให้ส่วนราชการรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นกรอบแนวทางกำหนดยุทธศาสตร์หรือแผนงานโครงการและงบประมาณในการดำเนินภารกิจที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกัน 3. ปัญหาและข้อจำกัดของการนำนโยบายภาครัฐไปใช้ในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย พบว่า 1. ด้านนโยบายยังขาดการวางแผนนโยบายระยะยาวและความต่อเนื่องในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคประมง 2. ด้านกฎระเบียบ/กฎหมาย ยังมีความเหลื่อมล้ำของการปรับใช้กฎหมายไม่มีความชัดเจน มีความซ้ำซ้อน และความไม่ยืดหยุ่นของตัวกฎหมายรวมถึงการออกกฎหมายที่ไม่มีกระบวนการศึกษาถึงผลกระทบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างละเอียดถี่ถ้วน 3. ด้านวิธีการการดำเนินการ การจัดการแรงงานต่างด้าวกิจการประมง ทะเลอยู่ในความรับผิดชอบหลายหน่วยงาน มีความซ้ำซ้อน ขาดการบูรณาการข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน 4. ด้านทรัพยากรทางการบริหารความขาดแคลนทรัพยากรทางด้านการบริหาร ทั้งบุคลากรที่มีไม่เพียงพอขาดทักษะทางด้านการสื่อสารภาษากับแรงงานต่างด้าวขาดเครื่องมือระบบตรวจสอบและอุปกรณ์ต่าง ๆ และ 5. ด้านปัจจัยภายนอก พบว่า จำนวนแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในภาคประมงเป็นจำนวนมากยากต่อการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐ 4. แนวทางในการพัฒนาการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทยนั้น ภาครัฐควรมีการกำหนดนโยบายในระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับการจัดการในภาคประมงโดยเฉพาะลดจำนวนการใช้แรงงานต่างด้าวโดยหันมามุ่งพัฒนาให้ธุรกิจภาคประมงสร้างแรงจูงใจแก่แรงงานชาวไทยมีความต้องการทำงานในภาคประมง รวมทั้งเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เร่งรัด ผลักดันให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบทะเบียนให้ได้ทั้งหมด โดยการละเว้นโทษทางกฎหมายในความผิดเดิมของแรงงานต่างด้าวและมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแก่แรงงานต่างด้าวภาคประมงให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9952
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57820013.pdf1.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น