กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9474
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุชาติ เถาทอง
dc.contributor.advisorวัตนะ จูฑะวิภาต
dc.contributor.authorภาณุวัฒน์ เสงี่ยม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T03:53:32Z
dc.date.available2023-09-18T03:53:32Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9474
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประวัติความเป็นมา อัตลักษณ์ และรูปแบบของหุ่นกาเหล้ วิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบของหุ่นกาเหล้กับหุ่นไทย และหุ่นในประเทศเพื่อนบ้าน และสร้างสรรค์หุ่นในมิติของวัฒนธรรมบาบ๋า เพอรานากัน จากพหุวัฒนธรรม “วัฒนธรรมลูกผสม” ผลจากการวิจัยพบว่า หุ่นกาเหล้ในจังหวัดภูเก็ตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ หุ่นในยุคแรกเป็นหุ่นที่นํามาจากประเทศจีน ใช้แสดงประกอบพิธีกรรมการแก้บน รวมทั้งแสดงในงานพิธีมงคลสําคัญต่าง ๆ ของชาวจีนบาบ๋า จังหวัดภูเก็ต ส่วนหุ่นในยุคหลังนั้นเป็นหุ่นที่มีการประดิษฐ์ขึ้น โดยได้หุ่นในยุคแรกเป็นต้นแบบ ซึ่งสร้างขึ้นโดยช่างฝีมือพื้นบ้านชาวภูเก็ต อัตลักษณ์ของหุ่น กาเหล้ คือ มีลักษณะเป็นหุ่นสายชักเชิดแบบจีน ประกอบด้วย หุ่น 3 ตัว ได้แก่ หุ่นเตี๋ยนหู้หง่วนโส่ย เป็นเทพเจ้าสําคัญของชาวจีน มีเอกลักษณ์ คือ มีใบหน้าสีแดง และผมเปีย หุ่นจอหงวน และหุ่นฮูหยิน ซึ่งเป็นภรรยาของจอหงวน ซึ่งเมื่อได้วิเคราะห์เปรียบเทียบหุ่นกาเหล้กับหุ่นไทย และหุ่นในประเทศเพื่อนบ้าน พบว่าหุ่นกาเหล้มีรูปแบบเป็นหุ่นสายชักเชิดใกล้เคียงกับหุ่นสายไทย คณะเสมา กรุงเทพฯ และหุ่นยกเตปวย ประเทศพม่า แต่รายละเอียด และส่วนประกอบปลีกย่อย อื่น ๆ อาจจะมีความแตกต่างกัน ผู้วิจัยได้นําผลจากการศึกษามาเป็นแนวทางในการออกแบบสร้างสรรค์ โดยได้นําอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมบาบ๋า ภูเก็ต ได้แก่ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ และลวดลายจากสถาปัตยกรรมมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างสรรค์หุ่นในมิติของวัฒนธรรมบาบ๋า เพอรานากัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectหุ่น
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subjectหุ่น -- การผลิต
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.titleหุ่นกาเหล้ : การสร้างสรรค์หุ่นในมิติของวัฒนธรรมบาบ๋า เพอรานากัน
dc.title.alternativeThe nlysis nd consruction of g-le mrionette in the bb pernkn culture
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are 1) to study history, identity and form of a Ga-le Marionette puppet, 2) to compare the form of a Gale-Marionette puppet with Thai puppet and other neighbor puppets,3) to create the puppet in a dimension of the Baba Peranakan culture from multicultursl ‘hybrid culture’ The results indicate that a Ga-le Marionette puppet in Phuket province could be divided into two eras: the first era, it came from China and used for the performance as rite fulfill one's vow as well as for the performance on important rite of Baba Chinese in Phuket province. The later era, it was invented from the first era puppets’ prototype which were creatd by the local skillful of Phuket people, The identify of a Ga-le Marionette puppets was in Chinese style with string attached to the puppet that could be divided in to three models: Tian-Hu-Nguan-Soy puppets (the important god of Chinese that is red face and pigtail), Jor-Nguan Puppets, and HuYin (Jor-Nguan’s wife). The comparative analysis revealed that Ga-le Marionette, Thai (Se-ma Thai marionette, Bangkok), and Yoke thé (Myanmar) were similar in terms of the form of string. However, the details and other compositions were possibly dissimilar. The researcher designed and created the puppet based on the identity of Baba Phuket culture. Clothing, decorations, and patterns from architecture were considered as the compositions for the constructing the Ga-le Marionette puppet in the dimension of Baba Peranakan Culture.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
54810094.pdf163.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น