กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/940
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเนื้อดินปั้นและน้ำเคลือบในการทำเครื่องปั้นดินเผาของแหล่งจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The properties of clay body and glaze used in pottery production in Chanthaburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: เครื่องปั้นดินเผา
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและปรับปรุงสมบัติของเนื้อดินและน้ำเคลือบที่ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาในเขตจังหวัดจันทบุรี ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ โดยวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีและสมบัติทางกายภาพ (สี, การหดตัวและการดูดซึมมน้ำ) ของดินจากแหล่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการเตรียมเนื้อดินและน้ำเคลือบ พบว่าสีของดินที่นำมาศึกษามีโทนสีน้ำตาล และเมื่อนำมาเตรียมเป็นเนื้อดิน พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การรขยายตัวเมื่อถูกความร้อนของเนื้อดิน (coefficient of expansion) มีค่าแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของดินที่นำมาเป็นส่วนผสม สำหรับน้ำเคลือบในแต่ละโรงงาน มีการใช้วัตถุดิบหลักสามชนิด ได้แก่ ขี้เถ้าไม้ ดินเลนจากป่าชายเลน และตัวช่วยในการหลอมละลาย โดยพบว่ามีปริมาณขององค์ประกอบทางเคมีที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังได้เพิ่มปริมาณของตัวช่วยในการหลอมละลายและชนิดของออกไซด์ให้สีลงในน้ำเคลือบ ทำให้ได้เคลือบที่มีความมันเงาและมีสีหลากหลายมากขึ้นและได้แก้ปัญหาการแตกร้าว-ตำหนิภายหลังการเผาโดยปรับปรุงวิธีการเตรียมเนื้อดิน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/940
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น