กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9199
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสิริยุพิน ศุภ์ธนัชภัคชนา
dc.contributor.advisorปริญญา ทองสอน
dc.contributor.authorอมราวดี บุตรเสมียน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T09:02:36Z
dc.date.available2023-06-06T09:02:36Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9199
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เรารักระยอง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้กับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ 4) ศึกษาเจตคติต่อท้องถิ่นระยองของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) เปรียบเทียบเจตคติต่อท้องถิ่นระยองระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้กับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง จังหวัดระยอง จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรม เรื่อง เรารักระยอง แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD และแบบปกติ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน โดยมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .56 - .62 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .41 - .58 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .85 และแบบวัดเจตคติต่อท้องถิ่นระยอง สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t - test) ผลการวิจัย พบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เรารักระยอง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.56/ 80.80 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้กับกลุ่มนักเรียนที่เรียนแบบปกติ พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เจตคติของต่อท้องถิ่นระยองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีเจตคติดีอย่างมาก (X = 4.78) 5. เจตคติต่อท้องถิ่นระยองระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 ซึ่งมากกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบปกติ ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectสื่อการสอน
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.titleการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง เรารักระยองโดยใช้รูปแบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
dc.title.alternativeThe development of lerning ctivity pckge on we love ryong coopertive lerning, std technique for mthyomsuks 1 students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to; 1) develop a learning activity package on Love Rayong by using cooperative learning STAD technique for Mathayomsuksa 1 students to meet the efficiency of 80/ 80, 2) study the students’ achievement before and after studying with the packages, 3) study the students’ achievement between the student group studying with the packages and the student group who studied with regular activiry, 4) to study students’ attitudes towards the learning, and 5) compare the student attitudes between the student studying with the packages and the student studying normally. The sample consisted two classes of 27 students of Mathayomsuksa 1 at Matthayomtaksinrayong School, Rayong Province. They were selected by using cluster random sampling. The research instruments were the learning activity package “We Love Rayong”, lesson plan using cooperative learning STAD technique and regular lesson plan, learning achievement test with the difficulty index between .56 - .62, the discriminative power between 0.41-0.58. The reliability was at 0.85, and attitudes test. The statistics used were mean, percentage, standard deviation and t-test. The results of the study were as follows: 1. The develop ed learning activity package “We Love Rayong” using cooperative learning STAD technique for Mathayomsuksa 1 had the efficiency of = 80.56/ 80.80. 2. The post test scores of the students after learning with the learning activities package was significantly higher than the pretest scores at the significant level of .01. 3. The student group who studied with the packages had the post test scores higher than the student group who studied with regular class studying normally at the significant level of .05. 4. The attitudes of the students who learned with the package was at the highest (X = 4.78). 5. The attitudes of the students who learned with the package was better than the student studying normally.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58910268.pdf2.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น