กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8798
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorธีรยุทธ เสงี่ยมศักดิ์
dc.contributor.advisorศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.authorคมสัน สัมมา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:25:15Z
dc.date.available2023-06-06T04:25:15Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8798
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความปลอดภัยการคล้องเกี่ยวเข็มขัดนิรภัยของผู้ปฏิบัติงานติดตั้งหลังคาบนโครงสร้างหลังคาสูงของบริษัท ติดตั้งหลังคาแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีประชากรที่ศึกษาทั้งหมดมี 80 คน โดยการปรับปรุงระบบยับยั้งการตกส่วนบุคคลให้ติดตั้งอยู่กับแผ่นปูทางเดินชั่วคราวที่ใช้ในการปฏิบัติงานบน และสามารถเคลื่อนย้ายไปในพื้นที่การปฏิบัติงานบนโครงสร้างหลังคาได้อย่างทั่วถึงโดยใช้เหล็กรูปตัว V (V-shape) ใช้เป็นจุดยึด (Anchorage) ติดตั้งเข้ากับแผ่นปูทางเดินชั่วคราวโดยใช้สกรูยึดติดกับโครงสร้างใช้สลิงไส้เชือกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตรเพื่อเป็นสายช่วยชีวิติ (Life line) ติดตั้งระหว่างจุดยึด และใช้ประกอบกับสายรัดตัว (Body harness) ที่มีตัวเชื่อมต่อ (Connector) และสายยึดกันตก (Lanyard) ติดตั้งอยู่กับชุดแล้วและได้มีการทดสอบความแข็งแรงของระบบยับยั้งการตกส่วนบุคคลว่าสามารถยึดหุ่นน้ำหนัก (140 กิโลกรัม) ให้ลอยอยู่อย่างอิสระและไม่เกิดความเสียหายต่อระบบยับยั้งการตกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลการศึกษา พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 50 และมีประสบการณ์ในการทำงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 67.3 มีความเสี่ยงก่อนปรับปรุงอยู่ในระดับ 4 ความเสี่ยงหลังปรับปรุงอยู่ในระดับ 2 และจากข้อมูลการเฝ้าสังเกตโดยหัวหน้างานในเรื่อง พฤติกรรมความปลอดภัยการคล้องเกี่ยวเข็มขัดนิรภัยก่อนและหลังปรับปรุงพบว่า ผลต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังการปรับปรุงในสัปดาห์ที่ 2, ก่อนและหลังการปรับปรุงในสัปดาห์ที่ 3 และก่อนและหลังการปรับปรุงในสัปดาห์ที่ 4 มีความแตกต่างกันทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 3.41, 2.96 และ 2.61 ตามลำดับ และจากข้อมูลโดยผู้ปฏิบัติงานก่อนและหลังการปรับปรุงในสัปดาห์ที่ 2, 3 และ 4 พบว่า ผลต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังในสัปดาห์ที่ 2 และก่อนและหลังการ ปรับปรุงในสัปดาห์ที่ 4 มีความแตกต่างกัน มีค่าเท่ากับ 0.04 และ 0.03 ตามลำดับ และหลังการปรับปรุงพบว่า ส่วนใหญ่พนักงานมีความพึงพอใจในด้านอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ส่วน ใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ร้อยละ46.25 ด้านเครื่องมือที่ใช้ในระบบยับยั้งการตกส่วนบุคคล ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ46.25 ด้านความปลอดภัยของระบบยับยั้งการตกส่วนบุคคล ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ร้อยละ 53.75 จากผลของการวิจัยครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าการปรับปรุงระบบยับยั้งการตกส่วนบุคคลโดยให้มีพฤติกรรมการคล้องเกี่ยวเข็มขัดนิรภัยของผู้ปฏิบัติงานจะทำให้มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นและสามารถเคลื่อนย้ายไปในพื้นที่การปฏิบัติงานได้อย่างสะดวกทั่วถึงรวมถึงยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงสภาพการปฏิบัติงานบนที่สูงในลักษณะงานอื่น ๆ ได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการก่อสร้าง -- อุบัติเหตุ -- การป้องกันและควบคุม
dc.subjectความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.titleประสิทธิผลของการปรับปรุงระบบยับยั้งการตกส่วนบุคคลตามแนวทางของ OSHA 29 CFR1926.502 ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานในบริษัทติดตั้งหลังคาแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeEffectiveness of personl fll rrest system improvement ccord ing to osh29 cfr1926.502 guidelines influencing on roof instlltion stff behvior in n instlltion compny,chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare the safety behaviors of the seat belt brackets of the roof installation workers on the roof structure of a roof installation company in Chonburi province. The total population is 80 people. By improving the personal fall arrest system To be installed on the temporary walk way sheet used in operations on And can be moved to the operating area on the roof structure thoroughly. By using V-shaped steel, used as an anchorage, mounted to temporary walk way sheet using screws attached to the structure Use a 6 mm diameter rope sling to be a life line. Install between the anchor points. And used together with the body harness that has a connector and a lanyard attached to the set. And has tested the strength of the personal fall arrest system that can hold the weight (140 kg) to float freely and does not cause damage to the system being blocked. The results showed that most of the employees were between 21-30 years old and 50 percent had work experience between 1-5 years, 67.3 percent had risk before improving at level 4. Risk after improvement in level 2. And from the supervisory observation data on safety behavior regarding seat belt braces before and after improvement found that The difference between the average before andafter the improvement in the 2nd week, before and after the improvement in the 3rd week and before and after the improvement in the 4th week, all the differences were 3.41, 2.96 and 2.61. order. And from the data by the workers before and after the improvement in week 2, 3 and 4, it was found that the mean difference between before and after in the 2nd week and before and after the improvement in week 4 is different. Is equal to 0.04 and 0.03 respectively. And after the improvement found Most of the employees are satisfied with personal protective equipment. Most of them were satisfied at a very satisfactory level of 46.25 percent. The tools used in the personal fall arrest system. Most are satisfied at the level The highest satisfaction was 46.25 percent. The safety of the personal fall arrest system Most of them were satisfied at 53.75%. Based on the results of this research, it is seen that Improving personal fall arrest system By having the behavior of the safety belt of the operator to make it more secure and can be moved easily into the operation area as well as can be used as a guideline to improve the operating conditions on Which can be high in other works.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920161.pdf3.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น