กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8652
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเบญญาดา กระจ่างแจ้ง
dc.contributor.authorฐิติมา ตันประดิษฐ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:12:05Z
dc.date.available2023-06-06T04:12:05Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8652
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยนโยบายด้านการจัดการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว และบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง พิจารณาในแต่ละด้าน อันดับแรกได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจรองลงมา ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ด้านคุณลักษณะ ด้านการมีอุดมการณ์ด้านพฤติกรรม ด้านการกระตุ้นทางปัญญาและอันดับสุดท้ายได้แก่ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2) ปัจจัยนโยบายด้านการจัดการภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาในแต่ละด้าน อันดับแรกได้แก่ ด้านโครงสร้างรองลงมา ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และอันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ 3) ความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาในแต่ละด้าน อันดับแรกได้แก่ ด้านหลักความโปร่งใส รองลงมา ด้านหลัก ประสิทธิภาพ ด้านหลักคุณธรรม/ จริยธรรม ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความเสมอภาค ด้านหลักการตอบสนอง ด้านหลักประสิทธิผลและอันดับ สุดท้ายได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยนโยบายด้านการจัดการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ปัจจัยนโยบายด้านการจัดการ (Beta = .428) และอันดับรองลงมาคือ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Beta = .391) โดยตัวแปรทั้งสองมีความสามารถในการทำนายได้ร้อยละ 50.0 (R-square =0.50)
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
dc.subjectภาวะผู้นำ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.titleภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและนโยบายด้านการจัดการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
dc.title.alternativeTrnsformtionl ledership nd mngement policies influencing the success of the implementtion of the good governnce policy of Skeo provincil dministrtive orgniztion
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the factors of transformational leadership and management influencing the success of good governance policies of Administrative Organization of Sa Kaeo. The study was quantitative research. The tools used in the study was questionnaires. The sample consisted of 400 officials of Provincial Administrative Organization of Sa Kaeo and Local Administrative Organization. The statistics used in the study were frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis. The results of each factor revealed that: 1) the overall transformational leadership was at a moderate level. When each aspect was considered, the first rank was motivating inspiration, which was followed by the idealized influence, behaviorally Idealized Stimulation, and Intellectual Stimulation. The last rank was individualized consideration. 2) The overall management policy factor was at a very high level. When each aspect was considered, the first rank was the structure, which was followed by the personnel and the budget, and the last rank was the materials and equipment. 3) The success of the implementation of good governance in the administration of Sa Kaeo Provincial Organization was at a very high level. When each aspect was considered, the first rank was transparency, followed by efficiency, moral/ ethical principles, rule of law, decentralization, main responsibilities equality principles, responsiveness, and effectiveness principles. And the last rank was participation principle. The hypothesis test showed that the transformational leadership and management policy at statistical significance level of .05. The most influential variable was Management Factor (Beta = .428), and the second rank was transformational leadership (Beta = .391). Both variables had a predictability of 50.0%
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการจัดการสาธารณะ
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59710057.pdf4.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น