กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/777
ชื่อเรื่อง: โครงการผลกระทบจากปะการังฟอกขาวปี พ.ศ. 2553 เนื่องจากการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำทะเลต่อการพัฒนาเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังชายฝั่งภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of elevated sea water temperature (2010 coral bleaching) on the reproductive performance of corals along the eastern coast of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี
สุวรรณา ภาณุตระกูล
อัญชลี จันทร์คง
วิภูษิต มัณฑะจิตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: Coral bleaching'
Reproductive
การสืบพันธุ์
ปะการังฟอกขาว
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เหตุการณ์ปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2553 นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งต่อปะการังในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทย และเนื่องจากการฟอกขาวของปะการังอาจจะมีผลต่อการพัฒนาเซลล์สืบพันธุ์และเพิ่มความอ่อนไหวต่อความเครียดของปะการัง ซึ่งจะส่งผลต่อการฟื้นตัวตามธรรมชาติของแนวปะการัง การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการฟื้นตัวตามธรรมชาติของแนวปะการังในจังหวัดระยอง โดยพิจารณาจาก 1) สถานภาพของทรัพยากรปะการังปัจจุบัน 2) ความสามารถในการพัฒนาเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังก้อนในครอบครัว Faviidae และ Mussidae ซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่เหลือรอดจากปะการังฟอกขาวในปีพ.ศ.2553 3) ประเมินการทดแทนประชากรในพื้นที่โดยพิจารณาจากชนิดและความหนาแน่นของการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังบนแผ่นกระเบื้อง และ 4) การเจริญเติบโตของปะการังวัยอ่อนที่รอดตาย ผลการศึกษาพบว่าเปอร์เซ็นต์การปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตบริเวณหมู่เกาะเสม็ดมีสูงกว่าบริเวณหมู่เกาะมันในแนวปะการังในบริเวณนี้จัดเป็นแนวปะการังที่ได้รับความเสียหายถึงเสียหายมาก มีปะการังก้อนในกลุ่มปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังสมองก้อนใหญ่ในครอบครัว Mussidae และปะการังก้อนในครอบครัว Faviidae เป็นองค์ประกอบหลักในปะการังที่รอดตายพบว่าร้อยละของปะการังในครอบครัว Faviidae และ Mussidae ที่มีเซลล์สืบพันธุ์สมบูรณ์ที่พร้อมปล่อยค่อนข้างต่ำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 (17.9 +- 5.58) แต่พบค่าสูงกว่าในเดือนตุลาคม 2554 (39.5 +- 10.62) ของจำนวนโคโลนีที่สำรวจ และเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มีร้อยละของปะการังที่มีเซลล์สืบพันธุ์สมบูรณ์สูงขึ้นกว่าปีแรก (29.8 +- 10.58) ซึ่งสอดคล้องกับชนิดและความหนาแน่นของตัวอ่อนที่ลงเกาะในธรรมชาติที่พบในช่วงเวลาดังกล่าว โดยปะการังในครอบครัว Faviidae และ Mussidae มีการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์สองครั้งในรอบปี คือระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และช่วงเดือนตุลาคม ขณะที่ปะการังโขด (Porites spp.) มีการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ได้ตลอดโดยพบตัวอ่อนลงเกาะในทุกช่วงเวลาที่ศึกษา ในธรรมชาติปะการังเขากวาง (Acropora spp.) เป็นปะการังวัยอ่อนในกลุ่มที่รอดจากการฟอกขาวในธรรมชาติที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด โดยมีการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโคโลนีและเพิ่มความสูงเฉลี่ย 3.8-4.8 ซ.ม./ปี และปะการังสมองร่องใหญ่ (Symphyllia spp.) มีการเจริญเติบโตสูงกว่าปะการังก้อนในครอบครัว Faviidae และปะการังโขด (Porites spp.) การเจริญเติบโตเฉลี่ย 1.8 ซ.ม./ปี จะเห็นได้ว่าแนวปะการังในบริเวณนี้มีศักยภาพในการฟื้นตัวตามธรรมชาติ แต่อาจต้องควบคลุมปัจจัยทางกายภาพที่จะมารบกวนกระบวนการฟืื้นตัว เช่น ตะกอน หรือธาตุอาหาร และนอกจากนี้อาจต้องจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยว และงดพฤติกรรมบางอย่างของนักท่องเที่ยวที่จะมีผลต่อระบบนิเวศ เช่นการให้อาหารปลา เนื่องจากเป็นการรบกวนสมดุลในระบบนิเวศ ทำให้ปลากินพืชไม่ไปกินสาหร่าย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการลงเกาะของตัวอ่อนปะการัง Coral bleaching in 2010 is one of the major events that strongly impact coral reefs along the coast of Thailand. Bleaching coral may retard development of corals gametes and increases susceptibility of coral to further stresses. Hence, potential of coral reefs to recover naturally may be affected. The objective of this work is to assess recovery potential of coral reefs in Rayong province via 1) evaluated coral reefs status in Rayong 2) examination of reproductive capabilities of Faviidae and Mussidae colonies which ara the 2 main coral familes survived the 2010 coral bleaching, 3) evaluated recruitment of coral population in the study area using information on species and abundance of newly recruited on settlement plates and 4) growth rates of juvenile colonies which survived the bleaching event. Results of the study show high percentage cover of live corals in the Samet Islands than the Mun Island, they are classified as poor condition. Members of the families Faviidae, Mussidae and Porites are the major component of the reefs. The results show low percentage of Faviidae and Mussidae colonies contain mature gametes (17.9 +- 5.58) in February 2011,These were correlated with two peaks of coral settlements (faviids and mussids) observed on settlement plates followed the spawning period in February and October 2011. We also obsetved Porites recruits on settlement plates all year round. Among the juvenile colonies that survied coral bleaching in 2010, Acropora spp. has the highest growth rate (3.8 - 4.8 cm/yr) followed by Symphyliia spp. (1.8 cm/yr). There is potential of reef recovery in this area, however the control of physical factors such as sediment and nutrients may requrie. Furthermore, to control number of tourists in the area as well as appropriate tourist activities are needed. Fish feeding activity may have to be prohibited as it will disturbed feeding habit of herbivore fishes, not to feed on algae which are the crucial impact on coral recruitment.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/777
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น