กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7659
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.advisorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.authorสาวิตรี จำปาศักดิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:19:08Z
dc.date.available2023-05-12T04:19:08Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7659
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูสายผู้สอนโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 292 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เทียบสัดส่วนตามขนาดโรงเรียนแล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) เกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู จำนวน 90 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .31-.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 และเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 28 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .28-.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.94 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างใช้การทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมออยู่ในระดับปานกลาง เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ด้านร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ และด้านร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ จำแนกตามประเภทของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3. ประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน ด้านความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีเจตคติทางบวก และด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ตามลำดับ 4. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และจำแนกตามประเภทของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู ด้านการตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน (X2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน (X6) ด้านการร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน (X10) และด้านปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี แก่ผู้เรียน (X8) เป็นตัวพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์เท่ากับ 50.50 เปอร์เซ็นต์ ดังสมการการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้ คะแนนดิบ Y = .812 + .199 (X2) + .267 (X6) + .222 (X10) + .113 (X8) คะแนนมาตรฐาน Z = .199 (X2) + .275 (X6) + .274 (X10) + .121 (X8)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectครูประถมศึกษา
dc.subjectวิชาชีพครู
dc.subjectครู -- วิชาชีพครู
dc.titleการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
dc.title.alternativeDevelop of techer profession stndrd with school effectiveness under trt primry eduction office re
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the development of standard for teacher profession at Effectiveness of schools under Trat Primary Education Office Area. The sample used in this study was 292 teachers under Trat Primary Education Office Area selected by stratified random sampling. The instrument used in this research was a five-point scale questionnaire on the develop of Teacher Profession Standard with 90 items. The item discriminative power was on between .31-.80 and the reliability was .98, and a with question on School Effectiveness 28 items, the item discriminative power was between .28-.82 and the reliability of .94. The statistics used to analyze the data were Mean (Xˉ ), Standard Deviation (SD), t-test, One-way ANOVA, Sheffe’s Test, Pearson’s product moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis. This study results were: 1. The development of Teacher Profession Standard under Trat Primary Education Office Area as a whole and each aspect was rated at a high level, except the academic activities related to the professional development of teachers was rated at a moderate level. They were: Being a role model for learners, Collaborating with others in the school reatively, and creative cooperation with others in the community, respectively. 2. The comparison of the development of Teacher Profession Standard under Trat Primary Education Office Area as classified by education and type of school as a whole and each aspect showed statistically significantly at .05 level. When classified by size of school as a whole and each aspect it was found no statistical significant difference. 3. The schools effectiveness as a whole and each aspect were at a high level, They were: the ability to solve problems within the school, the ability to adapt to the environment, the ability to develop students with positive attitude, and the ability to produce students with high academic achievement, respectively. 4. The school effectiveness as classified by level of education as a whole and each aspect showed no statistical significant difference. When classified by type of school and size of school as a whole and each aspect showed statistically significantly at .05 level. 5. The development of Teacher Profession Standard and School Effectiveness was highly positive correlated at statistically significantly at .05 level. 6. The development of Teacher Profession Standard concerning the decision-making activities based on the student's learning outcomes (X2), the teaching and learning activities focusing on the persistence of the learners (X6), the creative cooperation with others in the community (X10), and being a good role model for learners (X8) could be the predictors of school effectiveness under Trat Primary Education Office Area. The predictors of school effectiveness at 50.50 percent. The prediction equation in raw score and standard score were as follows: raw score Y = .812 + .199 (X2) + .267 (X6) + .222 (X10) + .113 (X8) Standard score Z = .199(X2) +.275 (X6) + .274 (X10) + .121 (X8)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น