กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7632
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
dc.contributor.advisorสมศิริ สิงห์ลพ
dc.contributor.authorวัฒนาพร ดวงดีวงศ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:16:51Z
dc.date.available2023-05-12T04:16:51Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7632
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ การคิดแก้ปัญหา ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เนื่องจากนักเรียนมีการคละความรู้ และความสามารถในการเรียนเท่า ๆ กัน อยู่ในห้องเรียนเดียวกัน เพื่อทดลองใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยใช้แบบแผนงานวิจัยเชิงทดลอง 1 กลุ่มที่มีการวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบวัดการคิดแก้ปัญหา แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent t-test และ t-test for One-sample ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4. การคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05.
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.titleการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาเรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
dc.title.alternativeThe development of lerning chievement nd problem solving bilities on “mterils nd properties of mterils” by problem-bsed lerning ffroch for 5thstudents
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to compare Pratomsuksa 5 learners’ achievement of Science before and after implementing the problem-based learning approach. The participants were 27 Pratomsuksa 5 learners of Piboonbumpen Demonstration School Burapha University in the first semester of academic year 2018. They were selected by using cluster random sampling based on their learning proficiency level. The research instruments were lesson plans of problem-based learning approach, learning achievement test, and problem solving abilities test. The dependent and independent t-test analysis were conducted. The results were; 1. The learning achievement of Pratomsuksa 5 students after implementing the problem-based learning approach in their Science subject in the lesson of “materials and properties of materials” was increased significantly (p = .05). 2. The learning achievement of Protomsuksa 5 students after implementing the problem-based learning approach in their Science subject in the lesson of “materials and properties of materials” was significantly higher than the evaluation criteria at 70% (p = .05). 3. The problem solving abilities of Protomsuksa 5 students after implementing problem-based learning approach in their Science subject in the lesson of “materials and properties of materials” was increased significantly (p = .05). 4. The problem solving abilities of Protomsuksa 5 students after implementing problem-based learning approach in their Science subject in the lesson of “materials and properties of materials” was significantly higher than the evaluation criteria at 70% (p = .05).
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการสอนวิทยาศาสตร์
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น