กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7414
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorจันทร์พร พรหมมาศ
dc.contributor.advisorสมศิริ สิงห์ลพ
dc.contributor.authorพรพิมล คงเจริญสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:20Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:20Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7414
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับ การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาชีววิทยา และมโนทัศน์ชีววิทยา เป็นการวิจัยเชิงการทดลองเบื้องต้น คือ ศึกษาผลของ ความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาทั้งก่อนเรียน และหลังเรียน ซึ่งในระหว่างดำเนินการทดลอง ผู้วิจัยได้ศึกษาผลพัฒนาการเรียนรู้จากแบบทดสอบ วัดมโนทัศน์ชีววิทยา โดยยึดตามแนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชลกันยานุกูล จำนวน 35 คน เครื่องมือ ได้แก่ แผนการเรียน การสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และแบบ ทดสอบวัดมโนทัศน์ชีววิทยา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียน (t-test) แบบ Dependent sample ผลวิจัยสรุปได้ว่า 1. ความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน ด้วยการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลพัฒนาการเรียนรู้ด้านมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการเรียน การสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงขึ้นจากระดับปานกลาง ไปสู่ระดับสูง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
dc.subjectความคิดรวบยอด -- กิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.titleผลการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
dc.title.alternativeEffects of using lerning cycle pproch integrted with scientific rgumenttion on the informl resoning bility, biology chievement, nd biology concepts of mttyomsuks four students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study effects of using learning cycle approach integrated with scientific argumentation on the informal reasoning ability, Biology achievement, and Biology concepts. The research employed a pre-experimental design of the informal reasoning ability, Biology achievement, and the development scores for the classroom action research from Biology concepts. The samples were 35 students who studied in Mattayomsuksa four students at Chonkanyanukool school of the academic year 2017. The research instruments were 1) the lesson plans which used the learning cycle approach integrated with scientific argumentation, 2) the informal reasoning ability tests, 3) Biology achievement tests, and 4) Biology concepts tests. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test with dependent sample. The research results were as follows; 1. The informal reasoning ability scores of students after using learning cycle approach integrated with scientific argumentation was significantly higher than the pretest scores at the .05 level. 2. Biology achievement scores of students after using learning cycle approach integrated with scientific argumentation was significantly higher than the pretest scores at the .05 level. 3. After using learning cycle approach integrated with scientific argumentation, students developed Biology concepts from moderate to high level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการสอนวิทยาศาสตร์
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น