กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/74
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์องค์ประกอบการประเมินผลการฝึกสอนของนิสิตฝึกสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นลินี บำเรอราช
วิมลรัตน์ จตุรานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การประเมินผลทางการศึกษา
การฝึกสอน - - การประเมิน
การฝึกสอน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ - - นักศึกษา
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์องค์ประกอบการประเมินผลการฝึกสอนของนิสิตฝึกสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อหาองค์ประกอบที่เหมาะสมในการประเมินผลการฝึกสอนของนิสิตฝึกสอน จากความเห็นของอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยงกับผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนหน่วยฝึกสอน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อจัดอันดับความสำคัญขององค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยงของนิสิตฝึกสอน และผู้บริหารโรงเรียนหน่วยฝึกสอน ปีการศึกษา 2544 จำนวน 293 คน ผลการวิจัยพบว่า ในการแสดงความคิดเห็นต่อองค์ประกอบต้นแบบ 8 องค์ประกอบที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น คือ การเตรียมการสอน การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ การปฏิบัติตน ความรู้ความสามารถ การพัฒนาการสอน และการปฏิบัติงานพิเศษนอกเหนือจากงานสอน กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ทุกองค์ประกอบมีความสำคัญระดับ 4.25 ขึ้นไป ยกเว้นองค์ประกอบเรื่องการปฏิบัติงานพิเศษนอกเหนือจากงานสอนที่มีค่าความสำคัยระดับ 3.86 เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องการเตรียมการสอนมากที่สุดเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบใหม่ด้วยการ Rotate Component Matrix พบว่า การจับกลุ่มขององค์ประกอบเปลี่ยนแปลงไปจากองค์ประกอบต้นแบบที่ทำเป็นแบบสอบถาม กล่าวคือ มีองค์ประกอบที่ชัดเจนด้วยมีตัวแปรมากกว่า 4 ตัวแปร องค์ประกอบการประเมินผลการฝึกสอนจากการวิจัยครั้งนี้มี 5 องค์ประกอบ คือ 1. องค์ประกอบด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้2. องค์ประกอบด้านการปฏิบัติตน3. องค์ประกอบด้านการปฏิบัติงานพิเศษนอกเหนือจากงานสอน4. องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ5. องค์ประกอบด้านการเตรียมการสอนงานวิจัยเรื่องนี้จึงได้ข้อสรุปของการวิเคราะห์องค์ประกอบใหม่ว่า ในการประเมินผลการฝึกสอนของนิสิตฝึกสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต้องให้น้ำหนักความสำคัญ เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด และให้น้ำหนักความสำคัญเรียงลำดับจากมากไปสู่น้อย จากเรื่องการปฏิบัติตน การปฏิบัติงานพิเศษนอกเหนือจากงานสอน ความรู้ความสามารถ และการเตรียมการสอน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/74
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2545_001.pdf1.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น