กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7388
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมบัติ สุวรรณพิทักษ์
dc.contributor.advisorธร สุนทรายุทธ
dc.contributor.authorรุ่งสุรีย์ สิงหราช
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:15Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:15Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7388
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงนวัตกรรมของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยใช้ เทคนิคการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 379 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test โดยผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสภาพระดับการปฏิบัติรายด้านในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ โดยมีค่าร้อยละ เท่ากับ 59.58 และมีปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X) เท่ากับ 3.74 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.10 2. รูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงนวัตกรรมของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) กระบวนการบริหารจัดการ ประกอบไปด้วย การวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนผลผลิต การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ การบริหารสินทรัพย์ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน และการตรวจสอบภายใน และ 3) เงื่อนไขของความสำเร็จ 3. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือการบริหารจัดการงบประมาณ แบบมุ่งเน้นผลงานเชิงนวัตกรรมของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (X) เท่ากับ 4.83 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.15 4. ผลการทดลองใช้คู่มือการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงนวัตกรรมของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คะแนนหลังใช้คู่มือ สูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectงบประมาณการศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectงบประมาณ -- การบริหาร
dc.titleการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเชิงนวัตกรรมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
dc.title.alternativeDeveloping mngement model of inovtive performnce-bsed budgeting for primry school under The Office of the Bsic Eduction Commission
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were; 1) to determine the circumstances and problems of management of innovative performance based budgeting for primary school under the Office of the Basic Education Basic Commission, 2) to develop a model of innovative performance based budgeting and, 3) to validate the model of the innovative performance-based budgeting by focus group technique. The samples were 379 schools under office of basic education commission. The research instruments were a questionnaire, interview and test. The statistical devices used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test. The results of the study reveal that: 1. The circumstances and problems of performance based budgeting of primary schools under the Office of the Basic Education Commission were at a moderate level, with an average of 59.58 percent but the overall problem was at a high level, with mean (X) of 3.74 and standard deviation (SD) of 0.10. 2. Management model of the innovation performance based budgeting model composed of; 1) principle, 2) management processes which composed of; budgeting planning, output specification and costing, procurement management, financial management, asset management, financial performance reporting and internal audit, and 3) condition of success. 3. The assessment of the suitability of the manual and management of the innovative performance based budgeting model were at the highest level, with mean (X) at 4.83 and standard deviation (SD) at 0.15. 4. The try-out of the management model manual revealed that the model was suitable at a high level with mean (X) of 4.47, standard deviation (SD) at 0.15. The score after the post-test was significantly higher than the pre-test at the .05 level.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf23.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น