กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7358
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อจำแนกพื้นที่ยืนต้นยางพาราด้วยข้อมูลจากดาวเทียม กรณีศึกษา จังหวัดบลิคำไช สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Appliction of geoinformtion technology for clssifiction of pr rubber plnttion res the cse study of borikhmxi province, lo, pdr
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพรรณ กาญจนสุธรรม
แก้ว นวลฉวี
นฤมล อินทรวิเชียร
จินดา มูนละมณี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
คำสำคัญ: ดาวเทียม -- การประมวลผลข้อมูล
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
ดาวเทียม -- ข้อมูล
ภูมิศาสตร์กายภาพ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อจำแนกพื้นที่ยืนต้นยางพาราจากข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT-8 ระบบ OLI ในปี พ.ศ.2558 กรณีศึกษาจังหวัดบลิคำไช สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้วยวิธีการจำแนกการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ยางพาราโดยมีขั้นตอนการศึกษาคือ 1. การแบ่งส่วนภาพของภาพถ่ายดาวเทียม 2. การกำหนดคุณลักษณะของแต่ละส่วนภาพด้วยค่าดัชนีพืชพรรณ NDVI ของการใช้ที่ดินแต่ละประเภท 3. การเลือกพื้นที่ตัวอย่าง สำหรับจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน 4. การจำแนกประเภทข้อมูลแบบ Nearest Neighbor และ 5. การประเมินความถูกต้องของการจำแนกพื้นที่ปลูกยางพารา ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดบลิคำไชมีพื้นที่ทั้งหมด 9,669,325 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 6.53 ของประเทศ การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่ป่าไม้มีพื้นที่มากที่สุด คิดเป็น 8,431,785.18 ไร่ หรือร้อยละ 87.20 รองลงมาคือ พื้นที่เกษตรกรรม คิดเป็น 850,876.46 ไร่ หรือร้อยละ 8.80 ส่วนพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างคิดเป็น 112,276.40 ไร่ หรือร้อยละ1.16 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่แหล่งน้ำ คิดเป็น 194,179.72 ไร่ หรือร้อยละ 2.01และมีพื้นที่ยืนต้นยางพารารวมทั้งสิ้น 80,207.25ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งจังหวัด โดยอำเภอที่มีพื้นที่ยืนต้นยางพารามากที่สุด คือ อำเภอปากกะดิง มีพื้นที่เท่ากับ 39,500.31 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 49.25 และอำเภอไชจำพอน มีพื้นที่ยืนต้นยางพาราน้อยที่สุดเท่ากับ 221.31ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.28 ผลจากการประเมินความถูกต้องสำหรับการจำแนก พบว่า ค่าความถูกต้องโดยรวมของการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน เท่ากับ 85.00 เปอร์เซ็นต์ซึ่งค่าความถูกต้องของพื้นที่ยืนต้นยางพารา ทั้งค่าความถูกต้องของการจำแนกข้อมูล (Producer Accuracy: PA ) และค่าความถูกต้องสำหรับผู้ใช้งาน (User Accuracy: CA) นั้นอยู่ในระดับดี มีค่าเท่ากับ 96.15 และ 83.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7358
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น