กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7333
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการงานก่อสร้างที่ยั่งยืนของผู้รับเหมาในจังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting sustinble construction mngement of contrctors in trt province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีชัย สำราญวานิช
นพคุณ บุญกระพือ
อุ้ย สุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม -- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง
การก่อสร้าง
อุตสาหกรรมก่อสร้าง -- การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการงานก่อสร้างที่ยั่งยืนของผู้รับเหมาในจังหวัดตราด พร้อมทั้งหาระดับผลกระทบจากปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่รางปัจจัยและเสนอแนวทางในการจัดการงานก่อสร้างที่ยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างในจังหวัดตราด จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ปัจจัยหลักที่ศึกษา 4 ปัจจัย ได้แก่ องค์ประกอบขององค์กร (X1t ) การจัดการงานก่อสร้าง (X2t ) ความเสี่ยง (X3t ) และข้อจำกัดในงานก่อสร้าง (X4t )ขณะที่มีปัจจัยย่อยทั้งหมด 28 ปัจจัย ทำการพิจารณาผลกระทบของปัจจัยที่มีผลต่อเวลาคุณภาพ งบประมาณความปลอดภัย สังคม และสิ่งแวดล้อม รวม 6 ด้าน จากผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีโอกาสที่เกิดขึ้นและความรุนแรงในระดับมาก 4 ปัจจัย ได้แก่ สภาพคล่องทางการเงิน การขาดแรงงานที่มีความชำนาญเฉพาะ ความรู้ความสามารถของบุคลากร และความผันผวนของราคาวัสดุและค่าแรง สำหรับปัจจัยที่มีโอกาศที่เกิดขึ้นและระดับความรุนแรงในระดับปานกลาง 5 ปัจจัยได้แก่ การจัดการขยะจากงานก่อสร้างแบบรูปและรายการคลุมเครือ ระบบสารสนเทศในการจัดการงานก่อสร้างการหยุดงานเนื่องจากเทศกาลและประเพณี และการประสานงานและความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนี้สามารถหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการงานก่อสร้างที่ยั่งยืนโดยรวม (Yt ) ในรูปของสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น คือ Yt= 0.372+1.365X1t+1.158X2t+ 0.779X3t+0.640X4t โดยที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.895 ซึ่งมีผลกระทบมากต่องบประมาณคุณภาพ และเวลา ตามลำดับ สุดท้ายพบว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างควรหมั่นตรวจสอบผลกระทบจากการดำเนินโครงการและให้ความสำคัญกับการจัดการงานก่อสร้างที่ยั่งยืนโดยพิจารณาแนวทางที่สำคัญ ได้แก่ ความรู้ความสามารถของบุคลากรเทคโนโลยีและเทคนิคการจัดการวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร สภาพคล่องทางการเงิน ความปลอดภัยในการทำงาน การวางแผนงานที่ไม่เหมาะสม ความผันผวนของราคาวัสดุและค่าแรงอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลากู้ยืมเงินความสัมพันธ์ของเนื้องานกับงวดเงิน และแรงงานที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7333
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น