กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/731
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวุฒิชาติ สุนทรสมัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:05Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:05Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/731
dc.description.abstractการศึกษาศักยภาพทางการตลาดและความเป็นผู้ประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises SMEs) : ศึกษากรณี ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรในเขตภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความมีศักยภาพทางการตลาด และความเป็นผู้ประกอบการของกิจการ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความมีศักยภาพทางการตลาด และความเป็นผู้ประกอบการของกิจการ SMEs ข้างต้น การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เลือกตัวอย่างจากประชากรคือ ผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจ ชุมชน ชมรม สมาคม กลุ่มต่าง ๆ ที่ผลิตและเพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรกระจายตามเขต 7 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และตราด ด้วยวิธีตามสะดวก จำนวน 42 กิจการ และใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยปรับปรุงจากแบบสอบถามต่างประเทศ และนำไปสอบถามด้วยตนเอง ได้รับความร่วมมือและตอบอย่างสมบูรณ์ 41 กิจการ คิดเป็นร้อยละ 98 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอ้างอิง โดยการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติที และเอฟ ณ ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลทั่วไปและการดำเนินกิจการ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชลบุรี เป็นเจ้าของคนเดียว และเป็นเจ้าของเอง เป็นกิจการค้าปลีก ที่ดำเนินกิจการมา 3-5 ปี ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดย่อม (จำนวนพนักงานไม่เกิน 50 คน) และไม่มีทุนจดทะเบียน โดยเริ่มธุรกิจด้วยตนเองเป็นธุรกิจแรกที่เคยดำเนินกิจการ ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในธุรกิจมาก่อน และเคยได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับผู้ประกอบการ ผู้ตอบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-30 ปี การศึกษาระกับปริญญาตรี และเป็นโสด 2. ผู้ประกอบการมีศักยภาพทางการตลาดสูง 5 ด้าน คือ มีจำนวนสาขาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์/ บริการมีความทันสมัย ความรวดเร็วในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า/ ตลาด มีการส่งมอบสินค้า/ บริการได้อย่างรวดเร็วและมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกและมีศักยภาพทางการตลาดเรียงลำดับมากถึงน้อย ดังนี้ ด้านลูกค้า ด้านคู่แข่ง ด้านความสามารถภายในกิจการ 3. ผู้ประกอบการมีลักษณะความเป็นผู้ประกอบการแต่ละด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ความสำเร็จในการริเริ่มและขยายธุรกิจ การรับรู้ การควบคุมตนเอง การริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ในธุรกิจ มุมมองทางธุรกิจ การรับรู้ การยอมรับทางธุรกิจ การยอมรับความเสี่ยง/ ความไม่แน่นอนและความเป็นอิสระ 4. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ณ ระดับนัยสำคัญ .05 4.1 ความมีศักยภาพทางการตลาด ทั้ง 3 ด้านไม่แตกต่างกันตามปัจจัยของประชากร 4.2 ความมีศักยภาพทางกาาตลาดแตกต่างกันตามลักษณะของกิจการ ตำแหน่งในกิจการ ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการ ประเภทของกิจการ และทุนจดทะเบียน 4.3 ความมีศักยภาพทางการตลาดแตกต่างตามผลการประกอบการด้านยอดขายต่อไปและความพึงพอใจต่อการดำเนินธุรกิจ 4.4 ความเป็นผู้ประกอบการแตกต่างตามเพศและระดับการศึกษาสูงสุด 4.5 ความเป็นผู้ประกอบการบางด้านแตกต่างกันตามลักษณะของกิจการ ตำแหน่งในกิจการ ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการ การเริ่มธุรกิจเองและการประกอบธุรกิจครั้งแรก 4.6 ความเป็นผู้ประกอบการบางด้านแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงยอดขายและความพึงพอใจต่อการดำเนินธุรกิจ ข้อเสนอแนะด้านเนื้อหาควรมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพทางการตลาดด้านที่เป็นจุดอ่อน คือ ด้านความสามารถภายในกิจการเองที่เป็นปัจจัยในกิจการ ได้แก่ การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านการประกอบการ คือ กำหนดเป้าหมายธุรกิจที่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ตลอดจนสร้างความเข้าใจและทำให้ผู้ประกอบการสามารถยอมรับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนโดยอาจอาศัยเกมจำลองธุรกิจที่เสมือนเครื่องมือนำทางให้ผู้ประกอบสามารถใช้ฝึกฝน ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย ได้แก่ การศึกษาความสัมพันธ์ของศักยภาพทางการตลาด และความเป็นผู้ประกอบการ โดยจำแนกตามขนาดของวิสาหกิจ ประเภทของวิสาหกิจ ตลอดจนเพิ่มขนาดตัวอย่าง ขยายผลการศึกษาสู่พื้นที่อื่น ๆ รวมถึงศึกษาผลการประกอบการด้านผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มเติมตัวแปรด้านวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเจาะลึกศึกษาความมีศักยภาพทางการตลาด ความเป็นผู้ประกอบการแต่ละด้าน อีกทั้งใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงสถิติที่สุงขึ้น ได้แก่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ความถดถอย รวมบูรณาการศึกษาด้านการจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้งศึกษากลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการแข่งขันและมีแนวโน้มการขยายตัวในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณเงินรายได้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2547en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectธุรกิจขนาดกลาง - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัยth_TH
dc.subjectธุรกิจขนาดย่อม - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัยth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์สมุนไพร - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - การตลาด - - วิจัยth_TH
dc.subjectผู้ประกอบการ - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleความมีศักยภาพทางการตลาดและความเป็นผู้ประกอบการของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : ศึกษากิจการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำหรือแปรรูปจากสมุนไพรในเขตภาคตะวันออกth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2550
dc.description.abstractalternativeThis study is concerned with the study of Market orientation and Entrepreneurship of the small and medium Enterprises (SMEs) in the eastern region of Thailand: A case study of Herbal products manufactures and distributors. In this regard, the study is conducted to, firstly, study market orientation and entrepreneurship of the business owners at 7 provinces in the eastern region of Thailand. Secondly, the study intends to investigate the factors affecting to their market orientation and entrepreneurship. A survey was conducted. The data were gathered with a questionnaire through the personal interview, distributed to 42 small and medium sized business owners and managers through out 7 provinces. There were a total of 41 usable subjects, for a response rate 98%. Descriptive Statistics were calculated and Inderential Statistics were performed to test the established hypotheses with a .05 level of significance. The research findings conclude that in the eastern region of Thailand, most respondents are female with 20-30 years of age, bachelor degreeholders, and single. The majorities are located in Chonburi, small enterprises, single owners without registered capital. The business owners own the 5 top market orientation components that were respectively ranked based on the degree of impact on the firms as an extensively number of channels of distribution, up-to-date service provides, speed of strategic change for achieving customer needs, on time delivery speed, and a variety of selective products and service options, respectively. Among three components of market orientation concept, customer focus is also ranked the first by firm owners, competition orientation ranked the second, and inter-functional coordination ranked the last. Hypotheses were tested as follows. 1. There are no significantly different in marketing orientations based on business owner's characteristics. 2. There are significantly different in marketing orientations based on type of business, position in the business, time of operation, characteristics of the business, and the amount of registered capirtal. 3. There are significantly different in matkerting orientations based on annual sale and business performance satisfaction. 4. There are significantly different in Entrepreneurship based on gender and education level of the business owners. 5. There are significantly different in some aspects of the Entrepreneurship based on type of business, position in the business, time of operation, business initiative and the first business operation. 6. There are significantly different in some aspects of the Entrepreneurship based on annual sale chang and business owners' satisfaction. Consequently, this study would recommend some improvements as for the continuous development and transfer of knowledge, through network development and business strat-up simulation game learning,in several aspects including risk takling management skills, continuous improvement operation and service delivery. With all there few adjustments, it is hoped that the SMEs business owers would drawand ompress more and more customers and efficiently compete with the competitors with the valuable inter-functional resource coordination through their Entrepreneurship.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น