กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/70
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบการใช้แบบทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์กับการใช้แบบทดสอบแบบเดิมในการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparison of computer-based and conventional tests in teaching english gramma
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมบูรณ์ เจตน์จำลอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ภาษาอังกฤษ - - แบบทดสอบ - - วิจัย
ภาษาอังกฤษ - - แบบทดสอบ
ภาษาอังกฤษ - - ไวยากรณ์ - - วิจัย
ภาษาอังกฤษ - - ไวยากรณ์ - - แบบทดสอบ
ภาษาอังกฤษ - - ไวยากรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. ภาควิชาภาษาตะวันตก - - วิจัย
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยและเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการทำแบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์กับค่าคะแนนเฉลี่ยและเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการทำแบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเดิมของนิสิตระดับปริญญาตรีภาคปกติ วิชาเอกและวิชาโทภาษาอังกฤษ จากคณะศึกษาศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 50 คน ซึ่งได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 212221 ไวยากรณ์และการเรียน (Structure) ตามหลักสูตรของภาควิชาภาคตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ประจำปีการศึกษาพุทธศักราช 2545ในการวิจัยนี้ผู้วิจัยได้แบ่งนิสิตโดยการสุ่มออกเป็นสองกลุ่ม ๆ ละ 25 คนเท่ากัน กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มนิสิตที่เข้ารับการทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ ส่วนกลุ่มที่สองเป็นนิสิตที่เข้ารับการทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเดิม แบบทดสอบทั้งสองเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือกแยกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเติมคำ และ ประเภทหาข้อความที่ใช้ผิดไวยากรณ์ โดยมีเนื้อหาเหมือนกัน และจำนวนข้อเท่ากันทุกประการ หัวข้อไวยากรณ์ที่ใช้ในการทดสอบเป็นหัวข้อที่สุ่มมาจากเนื้อหาที่นิสิตเรียนต่อไปนี้ Tense, Direct-Indirect Speech, Subject/Verb Agreement, Gerund, Comparison of Adjectives, Agreement with Pronouns, Causative และ Sentence Types โดยนิสิตต้องเข้ารับการทดสอบหลังจากที่เรียนหัวข้อนั้น ๆ จบแล้ว รวมจำนวนครั้งที่นิสิตทั้งสองกลุ่มต้องเข้ารับการทดสอบตลอดแต่ละภาคเรียนทั้งหมด 8 ครั้งในการทดสอบแต่ละครั้งนิสิตทั้งสองกลุ่มจะเข้ารับการทดสอบพร้อมกันภายในห้องปฏิบัติการทางภาษาห้องเดียวกัน และควบคุมการทดสอบโดยผู้สอนคนเดียวกันก่อนนำแบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษไปเก็บข้อมูลผู้วิจัยได้ทดลองใช้แบบทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มประชากร แล้วจึงนำแบบทดสอบที่วิเคราะห์แล้วผ่านเกณฑ์ค่าอำนาจจำแนกและค่าความยากง่ายมาใช้ในการเก็บข้อมูล นิสิตในกลุ่มที่ใช้แบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์สามารถเลือกคำตอบได้จากการกดแป้น keyboard โดยไม่สามารถเปลี่ยนคำตอบที่เลือกแล้วได้ และจะทราบคะแนนผลการสอบได้ทันทีที่ทำข้อสอบแต่ละชุดเสร็จ ส่วนนิสิตในกลุ่มที่ทำข้อสอบแบบเดิมสามารถเลือกคำตอบแล้วกากบาทลงในกระดาษคำตอบที่กำหนดให้โดยจะทราบผลหลังจากทีผู้สอนตรวจเสร็จแล้ว การบันทึกเวลาในการทดสอบทั้งสองกลุ่มจะเริ่มตั้งแต่นิสิตเริ่มทำข้อสอบไปจนเสร็จสิ้นการทำข้อสอบของแต่ละคนในแต่ละกลุ่ม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยค่าทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าการทดสอบที (t-test)ผลการวิจัยปรากฎว่า 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยของนิสิตกลุ่มที่ใช้แบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์สูงกว่าค่าคะแนนของนิสิตกลุ่มที่ใช้แบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเดิมทุกหัวข้อที่ทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) กลุ่มนิสิตที่ใช้แบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ใช้เวลาเฉลี่ยในการทำข้อสอบทุกประเภท ทุกหัวข้อน้อยกว่าเวลาเฉลี่ยของกลุ่มนิสิตที่ใช้แบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเดิม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/70
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
สมบูรณ์_เจตน์จำลอง.pdf.pdf3.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น