กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6860
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.authorอรัญญา เปล่งวัน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:21:45Z
dc.date.available2023-05-12T03:21:45Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6860
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญหาความเป็นผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดตราด จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ ในการสอน และขนาดของสถานศึกษาและหาแนวทางการพัฒนาความเป็นผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร สถานศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ปีการศึกษา 2559 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 234 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดของสถานศึกษาเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .30-.75 มีค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และ การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาความเป็นผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดตราดโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยให้รางวัลและตำหนิอย่างสร้างสรรค์ ด้านการสร้าง รูปแบบความคิดทางบวก และด้านการสนับสนุนให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยการสร้างทีมงาน ตามลำดับ 2. ผลเปรียบเทียบปัญหาความเป็นผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดตราด จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการสอน และขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการหาแนวทางการพัฒนาความเป็นผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดตราด พบว่า การพัฒนาความเป็นผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร สถานศึกษาประกอบด้วย 7 ด้าน คือ 1) การทำให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง 2) การแสดงเป็นแบบฉบับให้บุคลากร เป็นผู้นำตนเอง 3) การกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง 4) การสร้างรูปแบบความคิดทางบวก 5) การอำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยให้รางวัลและตำหนิอย่างสร้างสรรค์ 6) การสนับสนุน ให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยการสร้างทีมงาน และ 7) การอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน
dc.subjectบุคลากรทางการศึกษา
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษา
dc.titleปัญหาและแนวทางการพัฒนาความเป็นผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดตราด
dc.title.alternativeProblems nd guideline for superledership sittution of school’dministrtors under Trt eductionl service re office 17
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to compare problems and present guidelines for the development of super leadership situation of school administrators under Trat Educational Secondary Service Area Office 17 as classified by gender, teaching experience and the size of the institution. The research samples were teachers in Trat secondary school in 2016 academic year. They were under Trat Educational Secondary Service Area Office 17. The number of the sample size was determined based on the sample size suggested in the table of Craig and Morgan (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608). The samples were 234 teachers. The sampling was identified used stratified random sampling method of school size. The research instrument was a five rating scale questionnaire. The item discrimination range from .30-.75 and the coefficient of reliability is .96. The statistics used for data analysis were Mean, Standard Deviation , T-test, One-way analysis of variance and comparison of the difference by Scheffe’s Method. The results of the study were as follows 1. Problems of Super leadership Situation of School Administrators under Trat Educational Secondary Service Area office 17 were at high level. The top 3aspectsof Super leadership were Facilitate Self- leadership Through Reward and Constructive Reprimand, Create Positive Thought Patterns and Promote Self-leadership Though Teamwork. 2. The result of the comparison Super leadership Situation of School Administrators Problems under Trat Educational Secondary Service Area Office 17 as classified by gender, teaching experience and the size of school was found statistically significant difference at the .05 level. 3. Guidelines for Development of Super leadership Situation of School Administrators under Trat Educational Secondary Service Area office 17 consisted of 7 aspects: 1) Become a Self-leader; 2) Model Self-leadership; 3) Self-set Goals; 4) Create Positive Thought Patterns; 5) Facilitate Self- leadership Through Reward and Constructive Reprimand; 6) Promote Self-leadership Though Teamwork and 7) Facilitate Self-leadership Culture.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น