กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6829
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมุทร ชำนาญ
dc.contributor.advisorสุรัตน์ ไชยชมภู
dc.contributor.authorอารีรัตน์ พวงวงษ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:21:39Z
dc.date.available2023-05-12T03:21:39Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6829
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสนมวิทยาคาร อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน ประชากร ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนสนมวิทยาคาร อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .47- .88 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .98 ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด สอบถามข้อเสนอแนะต่อแนวทาง การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของประชากร (µ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร (σ) และค่าขนาดของผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ย (Effect size) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสนมวิทยาคาร อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรม ด้านการสรุปผล และด้านการกำหนดวิธีการแก้ปัญหา 2. การเปรียบเทียบปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ ในการสอนของครู ระหว่างประสบการณ์ในการสอนต่ำกว่า 10 ปี กับ ประสบการณ์ในการสอน 10-20 ปี โดยรวมและรายด้านมีระดับความแตกต่างน้อย 3. การเปรียบเทียบปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนของครู จำแนกตามประสบการณ์ในการสอนของครู ระหว่างประสบการณ์ในการสอนต่ำกว่า 10 ปี กับ ประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 20 ปี และ ประสบการณ์ ในการสอน 10-20 ปี กับ ประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 20 ปี โดยรวมและรายด้านมีระดับความแตกต่าง ปานกลาง 4. แนวทางการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสนมวิทยาคาร อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ มีดังนี้ วิเคราะห์ผู้เรียน เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มย่อย ๆ เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด วิธีการหรือนวัตกรรมที่นำมาใช้แก้ปัญหา ควรมีความทันสมัย หลากหลาย ศึกษางานวิจัยที่น่าเชื่อถือ และเป็นแบบอย่างมาใช้ประยุกต์ให้สอดคล้องกับการพัฒนานวัตกรรมในการแก้ปัญหา นำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในกลุ่มเป้าหมายและประชากรอย่างทั่วถึง และนำข้อมูลผลการวิจัยมาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่ต้องการศึกษา และเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectครูมัธยมศึกษา
dc.subjectวิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา
dc.subjectการศึกษา -- วิจัย
dc.titleปัญหาและแนวทางการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนสนมวิทยาคาร อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
dc.title.alternativeProblems nd guidelinesfor development of clssroom reserch of techers Snomwittykrn School, Snom District, Surin Province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study problems and guidelines for development of classroomresearch of teachers. The population in this study was 62 teachers working for Sanomwittayakarn School Sanom District Surin Province. Research Instrument in this study was a questionnaire divided in 3 sections. The first section aimed to collect personal information of the teachers completing the form. The second section contained a five-point-scale question examining problems and guidelines for development of classroom research. The item discrimination in this questionnaire was from .47 to .88. The questionnaire was found to be reliable (Cronbach's alpha: 0.98). The last section was the open-ended questions which teachers could share and contribute ways classroom research could be effectively conducted. To determine problems and guidelines for development of classroom research of the teachers, Population Mean (µ), Standard Deviation of a Population (σ) and Effect size were calculated. This study found that 1. The problems in conducting classroom research of teachers of Sanomwittayakarn School Sanom District Surin Province in general and all aspects of study were at moderate level. The three most found problems consisted of 1) the development of teaching techniques, 2) the innovation for identifying the result, and 3) approaches to address classroom problems. 2. This study found slightly difference when comparing classroom research problems encountered by teachers having different education background. Also only little difference was found when comparing classroom research problems of teachers having less than 10 year teaching experienceand those working between 10 and 20 years in general and all aspects. 3. This study found that teachers having less than 10 year teaching experiences, between 10 and 20 year teaching experiences and more than 20 years experiences encountered classroom research problems in general and all aspects at the moderate level. 4. The development of classroom research of teachers working for Sanomwittayakarn School Sanom District Surin Province suggested in this study include; 1) teachers should analyze students’ problems individually or in a small group so that teachers can come up with some specific solutions or potential innovative addressing the precise problems, 2) teachers should often review, updated classroom research and consider whether their findings can be applied to address related problems taking place in their own classroom, 3) teachers should share their found teaching techniques and innovation they researched to colleagues and those whom it may concern.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น