กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6825
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of problems nd guidelines for the development of driving the philosophy of sufficiency economy to Klongyi primry schools under Trt eductionl servive re office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประยูร อิ่มสวาสดิ์
หัสดาพร ศิลาชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: เศรษฐกิจพอเพียง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
เศรษฐกิจพอเพียง -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
โรงเรียน -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียน ประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตราด ปีการศึกษา 2559 โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง 158 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามขนาดโรงเรียน และทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและแนวทาง การพัฒนาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในเขต อำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ .21-.79 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปร ที่ทดสอบ จะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับน้อย 2. การเปรียบเทียบปัญหาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของ โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตราด จำแนกตามเพศ และขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ สถานศึกษาและด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของ โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตราด 3.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ได้แก่ การติดตามผลการดำเนินงานตาม แผนงบประมาณของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การบริหาร อาคารสถานที่และจัดการแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และการประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3.2 ด้านหลักสูตรและการสอน ได้แก่ การจัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผล ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การปรับปรุง/ พัฒนาตามรายงานผลการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และการเผยแพร่/ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 3.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ การจัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา สถานศึกษา/ ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ หรือสังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือวัฒนธรรม ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดกิจกรรมลูกเสือ/ เนตรนารี/ ยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ โดยอาศัยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการติดตาม ผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง 3.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของ สถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประชุม/ อบรม/ สัมมนา/ ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่ และการส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหา ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6825
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น