กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6759
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาภาคภาษาอังกฤษ รูปแบบ Mini English Program สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The multi-level cusl fctors ffecting on the effectiveness of the college with mini english progrm under the office of voctionl eduction commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
ไพรัตน์ วงษ์นาม
กุสุมา ขันกสิกรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: สถานศึกษา -- การประเมิน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
อาชีวศึกษา -- การศึกษาและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา ค้นหาปัจจัยเชิงสาเหตุระดับผู้เรียนและระดับสถานศึกษา สร้างและพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาภาคภาษาอังกฤษ รูปแบบ Mini English Program สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียน ผู้สอนและผู้บริหาร จำนวน 1,150 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling) ตัวแปรทำนายระดับผู้เรียน ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม (GPA) คุณลักษณะภายในผู้เรียน (DIS) พฤติกรรมการเรียน (BEV) เศรษฐสังคมผู้ปกครอง (SES) และสภาพแวดล้อมภายในครอบครัว (ENV) ตัวแปรทำนายระดับสถานศึกษา ได้แก่ ความเชี่ยวชาญผู้สอน (EXP) คุณภาพการสอน (QUA) เทคโนโลยีทางการศึกษา (TEC) วิสัยทัศน์ผู้บริหาร (VIS) ภาวะผู้นำผู้บริหาร (LEA) บรรยากาศ (CLI) และวัฒนธรรมสถานศึกษา (CUL) ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิผลของสถานศึกษาที่วัดจากความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (ABIL) และคะแนน การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (VNET) เครื่องมือ คือ แบบสอบถามจำนวนสามฉบับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) ระหว่าง 0.853-0.895 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ระหว่าง 0.889-0.982 ใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและค่าสถิติเบื้องต้น และโปรแกรม Mplus 7.4 วิเคราะห์ข้อมูลพหุระดับ ผลการวิจัย พบว่า 1. ตัวแปรสังเกตได้ระดับผู้เรียนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง ระดับสถานศึกษาในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายค่าความเบ้และค่าความโด่งของทั้งสองระดับผ่านตามเกณฑ์ 2. ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (ABIL) ระดับปานกลาง และมีคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (VNET) ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับประเทศ 3. ตัวแปรความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (ABIL) และตัวแปรคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (VNET) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นเหมาะสม (Intraclass correlation coefficient: ICC) 4. โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับมีผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาภาคภาษาอังกฤษ รูปแบบ Mini English Program สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำแนกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับผู้เรียน โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ ค่า 2 = 93.984, df = 36, p = 0.0000, 2/df = 2.611, RMSEA = 0.040, CFI = 0.984, TLI = 0.971, SRMRw = 0.027, SRMRb = 0.001 ระดับสถานศึกษาโดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ ค่า 2 = 755.847, df = 298, p = 0.0000, 2/df = 2.536, RMSEA = 0.039, CFI = 0.928, TLI = 0.912, SRMRw = 0.027, SRMRb = 0.123
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6759
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น