กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/673
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพชุมชนในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อหาแนวทางในการจัดรูปแบบ ทางการศึกษานอกโรงเรียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of communities in Eastern industrial development areas as an appropriate model of nonformal education
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กชกร สังขชาติ
สุจินดา ม่วงมี
สมหมาย แจ่มกระจ่าง
กาญจนา มณีแสง
ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา
วิณี ชิดเชิดวงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การพัฒนาการศึกษา
การศึกษานอกระบบโรงเรียน - - ชายฝั่งทะเลตะวันออก - - วิจัย
ชุมชน - - วิจัย
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2535
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสภาพชุมชนในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อหาแนวทางในการจัดรูปแบบทางการศึกษานอกโรงเรียน โดยศึกษาใน 4 ด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านอาชีพ และด้านสาธารณสุข ในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยการศึกษาจากการสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างเป็นรายบุคคลจากกลุ่มตัวอย่างต่อไปนี้ 1)หัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทนครอบครัวในหมู่บ้าน จำนวน 500 ครัวเรือน 2) หัวหน้า หรือตัวแทนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 22 คน และ 3) ผู้บริหารโรงงาน จำนวน 35 คน (รวม 35 โรงงาน) แล้วนำผลการสัมภาษณ์นี้มาหาค่าร้อยละ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถามศึกษา มีความต้องการที่จะศึกษาต่อน้อยมาก แต่พบว่า ส่วนที่ต้องการศึกษาต่อนั้นต้องการศึกษาเพิ่มเติมทางสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ อาชีพของประชากรคืออาชีพรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละประมาณ 3,000-5,000 บาทต่อเดือน มีสมาชิกในครอบครัวจำนวน 4-5 คน ด้านสาธารณสุข ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำดื่ม ประชาชนได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และสื่อมวลชน และปัญหาทางด้านมลพิษจากสิ่งแวดล้อมคือน้ำเสีย 2. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนนั้น มีความคิดเห็นสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ซึ่งต้องการศึกษาต่อสายสามัญและสายอาชีพ โดยเห็นว่าสถาบันทางการศึกษาทุกระดับควรมีบทบาทในการจัดการศึกษา ในรูปแบบของการศึกษานอกโรงเรียน 3. ผู้บริหารโรงงานมีความเห็นว่า พนักงานควรได้รับการฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อพัฒนาทางด้านจริยธรรม การปรับตัว และมนุษยสัมพันธ์จากหน่วยงานต่างๆที่เหมาะสมที่จะให้การศึกษา โดยการสนับสนุนจากโรงงานอุตสาหกรรม The research was to study the information about communities in the Eastern Sea Board area in order to find out the pattern of nonformal education. This study was divided into four catagories; education, economics, occupation, and health in the province of Chacherngchaw, Chonburi, and Rayong. Questionnaires and interviews were used in this study to obtain information from the following sample; 1) five hundred heads of families. 2) twenty-two administrators or persons involved in nonformal education 3)thirty-five industrial administrators from 35 industries. Percentage was used to analize the data in this study. The results of this study were as follows: 1. The majority of the populations in the community of the Eastern Sea Board area have finished grade four and do not want to study at a higher level. There are a few people who want to study at a higher level in grammar schools rather than vocational schools. Most of the people work as employees. There are 4-5 person in a family and earn about 3,000-5,000 baht per month. In the area of health, most of them drink rain water and are at risk from polluted water. People gain health knowledge from health officials and the mass media. 2. The administrators of nonformal education and the people agree that the educational institute should provide education at secondary and vocational level in the form of nonformal education. 3. The industrial administrators pointed out that employees should be trained in a short course program to develop their ethics, social adjustment and human relations and supported by the industries.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/673
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_234.pdf2.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น