กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6729
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการพัฒนาการบริหารสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีสู่ความเป็นเลิศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The model of development for Chonburi Footbll Assocition mngement to excellence
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
สุรีวงษ์ นามวงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
สมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรี -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีสู่ความเป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่าง มี 3 กลุ่ม คือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารในสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรี ผู้ฝึกสอน และบุคลากรทางด้านการกีฬา รวม 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรง โดยมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.54 ถึง 0.88 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.90-0.98 สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ครอบคลุมองค์ประกอบทั้ง 10 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ด้านระบบโครงสร้างองค์กรกีฬา ด้านระบบการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการกีฬา ด้านการกีฬานักกีฬา ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ด้านการพัฒนาระบบการแข่งขัน ด้านกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา ด้านความร่วมมือระหว่างองค์กรและการสนับสนุน ผลการศึกษา พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์จากลุ่มตัวอย่าง 200 คน พบว่า มีองค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ รวม 45 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.54-0.85 และมีค่าสถิติที่สำคัญ คือ Chi-square = 197.075, p = 1.000, df = 440, GFI = 0.958, AGFI = 0.901, CFI = 1.000, SRMR = 0.032, RMEA = 0.000 และทุกตัวแปรมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาการบริหารสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีสู่ความเป็นเลิศจากการสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน ได้พิจารณาข้อมูลจากผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบได้มีความเห็นและเป็นที่ยอมรับทั้งหมด ครอบคลุมองค์ประกอบครบทั้ง 10 องค์ประกอบ รวม 20 ตัวแปร (จากเดิมมี 45 ตัวแปร) 3. ผลจากการนำข้อมูลที่ได้นำมาตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยใช้แบบสอบถามกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารในสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรี ผู้ฝึกสอน และบุคลากรทางด้านการกีฬา จำนวน 200 คน พบว่า ให้การยอมรับในรูปแบบการพัฒนาการบริหารสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีสู่ความเป็นเลิศ ว่ามีความเหมาะสมเป็นไปได้ในการนำไปใช้งาน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6729
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น