กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6718
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมโรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยาจังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of culturl phenomenon of wingjedee witty school, lmphun province, under the secondry eductionl service re office 35
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
อังคณารักษ์ ภูบาลชื่น
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร -- ลำพูน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมโรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 คน หัวหน้าฝ่ายงาน จำนวน 6 คน ครู จำนวน 8 คน คณะกรรมการนักเรียน จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 3 คน และผู้ปกครอง จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับวัฒนธรรมโรงเรียน การสังเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงอุปนัย และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาแบบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ปรากฏการณ์วัฒนธรรมโรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยาด้านความมุ่งประสงค์ของโรงเรียน พบว่า โรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการนักเรียน และตัวแทนผู้ปกครอง ร่วมกันกำหนดเป้าประสงค์และทิศทางการดำเนินงาน มีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับทราบ และกำหนดลงในแผนปฏิบัติการประจำปีสู่การปฏิบัติ ด้านการมอบอำนาจ พบว่า โรงเรียนได้มอบหน้าที่ให้บุคลากรตามความต้องการและความสามารถ มีการออกคำสั่งปฏิบัติตามระเบียบราชการ และยังมีการกระจายอำนาจความรับผิดชอบตามโครงสร้างการบริหารอย่างชัดเจน บุคลากรรับรู้ข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน ด้านการตัดสินใจ พบว่า ผู้บริหารให้บุคลากรและผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นและตัดสินใจร่วมกันผ่านที่ประชุมโดยยึดมติเสียงข้างมากบนพื้นฐานสารสนเทศที่ถูกต้อง แต่การปฏิบัติภารกิจบางกรณีครูยังคิดว่าตนเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งจะมีความเห็นขัดแย้งไม่ได้ ด้านความรู้สึกเป็นกลุ่ม พบว่า บุคลากรของโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนรัก มีความผูกพันและรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียน มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษา สมาคมศิษย์เก่าทุกฝ่ายให้การช่วยเหลือพัฒนาโรงเรียนอย่างดียิ่ง มีเงินบริจาคเพื่อนำมาพัฒนาโรงเรียนจำนวนมาก โรงเรียนสนับสนุนบุคลากรพัฒนาตนเองทั้งศึกษาดูงาน เปิดโอกาสให้บุคลากรได้ศึกษาต่อ ตลอดจนส่งเสริมการอบรมพัฒนา ด้านความไว้วางใจ พบว่า บุคลากรทุกคนของโรงเรียนมีความไว้เนื้อเชื่อใจและยอมรับซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และเปิดโอกาสบุคลากรได้ทำงานอย่างอิสระ ทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ สำเร็จตามเป้าหมาย ทุกครั้ง ด้านความมีคุณภาพ พบว่า โรงเรียนให้การยกย่องชมเชยสร้างขวัญกำลังใจบุคลากรที่ได้รับรางวัลและสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานครูและนักเรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร และคณะทำงานมีการกำกับติดตามประเมินคุณภาพของงาน อย่างเป็นระบบทุกขั้นตอน ทั้งการนิเทศการสอน และการสรุป ประเมินผลโครงการเมื่อสิ้นปีการศึกษาซึ่งประสบความสำเร็จในระดับดีทุกโครงการ และนักเรียนมีคะแนนการสอบระดับชาติสูงขึ้น ด้านการยอมรับนับถือ พบว่า โรงเรียนยอมรับในความคิดเห็นและความสำเร็จของบุคลากร เปิดโอกาสให้บุคลากรคิดสร้างสรรค์การปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ด้านความเอื้ออาทร พบว่า โรงเรียนให้การดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่และการปฏิบัติงานบุคลากรอย่างเท่าเทียมกัน ให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้านทุนการศึกษา เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สนับสนุนบุคลากรให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ทำให้ครูมีขวัญกำลังใจ เสียสละ และทุ่มเทการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี ด้านความเที่ยงธรรม พบว่า ผู้บริหารและครูประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ครูมีวิสัยทัศน์และมีลักษณะความเป็นผู้นำ มุ่งมั่นพัฒนา ปฏิบัติตนเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา และด้านความหลากหลายของบุคลากร พบว่า โรงเรียนให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าในความแตกต่างเรื่อง ปรัชญา ความเชื่อ จึงหล่อหลอมความแตกต่างของบุคคลให้มีความสอดคล้องกัน เพื่อประโยชน์ในดำเนินงานสู่เป้าหมาย
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6718
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น