กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6590
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
dc.contributor.advisorสุชาดา กรเพชรปาณี
dc.contributor.authorกัญญ์รินท์ สีกาศรี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T03:08:58Z
dc.date.available2023-05-12T03:08:58Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6590
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต เช่น อารมณ์เศร้า เสียใจ หรือมีความสุข แตกต่างกันไปตามปัจจัยภายนอกหรือภายใน เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บุคลิกภาพ และความแตกต่างระหว่างเพศ เป็นต้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ และบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบกับการรับรู้อารมณ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก บุคลิกภาพแบบประนีประนอม บุคลิกภาพแบบแสดงตัว และบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว การรับรู้อารมณ์ ประกอบด้วย ด้านความประทับใจ ด้านการตื่นตัว และด้านการมีอิทธิพล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 180 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นมาตรวัดบุคลิกภาพ ชุดของรูปภาพที่สื่อความหมายทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกในบริบทคนไทย และมาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก SAM Thai วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้ 1. นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำแนกตามเพศ และกลุ่มสาขาวิชา ปรากฏว่ามีความ แตกต่างกันเฉพาะบุคลิกภาพแบบประนีประนอม ส่วนบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก บุคลิกภาพแบบแสดงตัวและบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวไม่แตกต่างกัน 2. ความแตกต่างระหว่างเพศและบุคลิกภาพมีผลต่อการรับรู้อารมณ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้ 2.1 เพศ และบุคลิกภาพแบบแสดงตัวมีผลต่อการรับรู้อารมณ์ด้านความประทับใจ 2.2 เพศ บุคลิกภาพแบบแสดงตัว และบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกมีผลต่อการรับรู้ อารมณ์ด้านการตื่นตัว 2.3 เพศมีผลต่อการรับรู้อารมณ์ด้านการมีอิทธิพล
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการรับรู้ -- จิตวิทยา
dc.subjectอารมณ์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.titleการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้อารมณ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
dc.title.alternativeAnlysis of individul differences ffecting emotion perception mong undergrdute students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeEmotion plays an important role in our daily life such as sad, sorrow or happiness depending on external or internal factors like situations, personality, and gender differences. The purpose of this research was to study the relationships between gender, personality, and emotion perception as found among undergraduate students. The personality factors investigated were the Big Five: extraversion, agreeableness, openness, conscientiousness, and neuroticism. The samples were 180 undergraduated students at Burapha Universty, Thailand, in the year 2016. They were randomly selected by multi-stage random sampling. Research instruments included the Big Five Personality Scales, pictures of emotions from the Thai Affective Picture Bank System and the Thai version of Self-Assessment Manikin (SAM Thai). Correlation and regression methods were used to determine the relationships between gender, the Big Five, and emotion perception. The results were as follows: 1. Gender and fields of study were found on the Big Five agreeableness scale, but not on openness, conscientiousness, extraversion, and neuroticism. 2. With regard to the relationships between gender, personality, and emotion perception: 2.1 Gender and extraversion had an effect on valence. 2.2 Gender, extraversion and conscientiousness had an effect on arousal. 2.3 Gender had an effect on dominance.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น