กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6404
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกร อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors tht ffect the selection of griculturl chemicls of frmers in Mkhm district, Chntburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลือชัย วงษ์ทอง
เรวัตตะ พินิจไพฑูรย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: เคมีการเกษตร
การเลือกซื้อสินค้า
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกร อําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ประการแรก เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านกระบวนการตัดสินใจและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเคมีเกษตร หรือ ปุ๋ยเคมีเกษตร และอาหารเสริมพืชของเกษตรกร ในเขตอําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อพัฒนาการขายให้มีประสิทธิภาพ ประการที่สอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบถึงปัจจัยสําคัญในการเลือกซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกร อําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรที่มาซื้อเคมีเกษตรในเขตอําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จํานวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้สถิติความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) นําข้อมูลมาประมวลผลโดยทดสอบด้วยสถิติการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple linear regression analysis) จากผลการศึกษาทําให้ผู้วิจัยค้นพบว่า ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 40-49ระดับการศึกษาปริญญาตรีมีจํานวนมากที่สุด มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรีมีรายได้ผลผลิตเฉลี่ย 800,001-1,000,000 บาท และส่วนใหญ่มีพื้นที่ ในการทําเกษตร 31-50 ไร่ การทดสอบสมมติฐานพบว่ากระบวนการตัดสินใจซื้อกับระดับการตัดสินใจเลือกซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกร มีความสัมพันธ์กันร้อยละ 25.0 ซื้อเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การตัดสินใจซื้อมีผลต่อระดับการเลือกซื้อมากที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .400 รองลงมาคือ พฤติกรรมหลังการซื้อ เท่ากับ .158 การประเมินทางเลือก เท่ากับ .151 และการแสวงหาข้อมูลเท่ากับ -.105 และส่วนประสมทางการตลาดกับระดับการตัดสินใจเลือกซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกร มีความสัมพันธ์กัน ร้อยละ 12.2 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านราคามีผลต่อระดับการเลือกซื้อมากที่สุด มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .184 รองลงมา เป็นด้านพนักงาน เท่ากับ .175 ด้านการจัดจําหน่าย เท่ากับ .148 และด้านการส่งเสริมการตลาด เท่ากับ .101
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6404
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น