กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6187
ชื่อเรื่อง: กำลังอัด การแทรกซึมของคลอไรด์และการกัดกร่อนเหล็กในคอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากเศษคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหินภายใต้สิ่งแวดลล้อมทะเลเป็นเวลา 3 ปี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Compressive strength, chloride penetrtion nd steel corrosion of recycled corse ggregte concrete contining fly sh under 3-yer exposure in mrine envinronment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร ชาลี
นำพล บุตรเชื้อไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
คอนกรีต -- การกัดกร่อน
คอนกรีตผสมขี้เถ้าลอย -- การกัดกร่อน
การกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของเถ้าถ่านหินต่อการแทรกซึมคลอไรด์สัมประสิทธิ์การแทรกซึมคลอไรด์ การเกิดสนิมของเหล็กกำลังอัดและโครงสร้างจุลภาคของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากเศษคอนกรีตภายใต้สภาวะแวดล้อมทะเลเป็นเวลา 3 ปีโดยใช้เถ้าถ่านหินจากแม่เมาะแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 บางส่วนที่ร้อยละ 0, 15, 25, 35 และ 50 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40, 0.45, 0.50โดยหล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ขนาด 200 x 200 x 200 มม.และทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม. สูง 200 มม. สำหรับทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์และกำลังอัดตามลำดับ และฝังเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนยก์ลาง 12 มม.ยาว 50 มม. ที่ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็ก 10, 20, 50 และ 75 มม. บ่มตัวอย่างคอนกรีตในน้ำเป็นระยะเวลา 28 วัน จากนั้นนำตัวอย่างคอนกรีตไปแช่ในสิ่งแวดล้อมทะเลที่สภาวะเปียกสลับแห้งเป็นเวลา 3 ปีและเก็บตัวอย่างมาทดสอบหาปริมาณคลอไรด์การเกิดสนิมของเหล็กกำลังอัดและโครงสร้างจุลภาคของคอนกรีต จากผลการศึกษา พบว่า คอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากเศษคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหินให้ค่าสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ต่ำกว่าคอนกรีตที่ไม่ได้ผสมเถ้าถ่านหินอย่างชัดเจน เมื่อลดอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานในคอนกรีตลง ส่งผลให้ลดสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีตที่ไม่ได้ผสมเถ้าถ่านหินมากกว่าคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหิน นอกจากนี้คอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากเศษคอนกรีตที่มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.40 และแทนที่เถ้าถ่านหินในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ร้อยละ 15 ถึง 25 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน มีความเหมาะสมที่จะใช้ในสิ่งแวดล้อมทะเล เนื่องจากมีกำลังอัดและความสามารถในการต้านทาน การแทรกซึมของคลอไรด์เป็นไปตามที่ ACI 201.2R ได้แนะนำไว้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6187
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น