กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6182
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชาญยุทธ กาฬกาญจน์
dc.contributor.authorอำนาจ แก้วฉอ้อน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:34:31Z
dc.date.available2023-05-12T02:34:31Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6182
dc.descriptionงานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการบริการสาธารณะด้านการจัดหาน้ำสะอาดเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของเทศบาลตำบลชากบก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ในปัจจุบันมีระบบประปาหมู่บ้าน 9 แห่ง ใน 8 หมู่บ้าน ที่ดำเนินการบริหารกิจการโดยคณะกรรมการบริหารกิจการประปาหมู่บ้านซึ่งจากการสำรวจ เบื้องต้น พบว่า การบริหารนั้นมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและประสบความล้มเหลว ดังนั้นเทศบาล ตำบลจึงมีนโยบายให้รับโอนกิจการประปาหมู่บ้านมาอยู่ภายใต้การบริหารงานของเทศบาล เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริการการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ปัจจุบันในการดำเนินกิจการประปาหมู่บ้าน รวมทั้งวิเคราะห์ราคาค่าน้ำประปาที่เหมาะสม เพื่อให้เทศบาลใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานต่อไป จากผลการศึกษาพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ ในการบริหารกิจการประปาปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากการดำเนินงานที่ขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการบริหารกิจการประปา ได้แก่ การวางแผนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การบริหารการเงิน และการวางแผนพัฒนาระบบประปา เป็นต้น นอกจากนี้จากผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงิน พบว่ามีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 4 แห่ง ที่ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอัตราค่าน้ำ ได้แก่ หมู่บ้าน บ้านชากกอไผ่บ้านหนองหว้า บ้านมาบตารอด และหมู่ที่ 2, 8 และ 9 (ที่บ้านในแถว) ซึ่งปัจจุบัน กำหนดไว้ที่ 10 บาท/ลูกบาศก์เมตร โดยมีต้นทุนในการผลิตอยู่ในช่วง 6.40-11.01 บาท/ ลูกบาศก์เมตร และมีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ที่น้อยสุดเท่ากับ 11.65% ซึ่งมากกว่าอัตราผลตอบแทนต่ำสุดของเงินทุน (MARR) ที่กำหนดให้ไม่น้อยกว่า 8% ทำให้มีระยะเวลาในการคืนทุนนานที่สุดประมาณ 6 ปีในส่วนของระบบประปาหมู่บ้าน อีก 5 แห่ง จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอัตราค่าน้ำใหม่ให้เหมาะสมต่อการลงทุน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการประปา -- ไทย -- ระยอง -- การจัดการ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมจัดการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐาน
dc.subjectประปาชนบท -- ไทย -- ระยอง -- การจัดการ
dc.subjectประปา -- ไทย -- ระยอง -- การจัดการ
dc.titleการศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาการบริหารกิจการประปาของเทศบาลตำบลชากบก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
dc.title.alternativeThe study stte of problems nd the solutions of wter supply mngement in Chkkbok Subdistrict Municiplity, Bnkhi district, Ryong province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeProviding public tap water is one of the main missions of Chakkabok sub-district municipality, Bankhai, Rayong. Nowadays, there are nine tap water supply systems in eight villages in Chakkabok district have been managed by tap water supply village committees. According toa preliminary investigation report, the managements of tap water supplies by the village committees were both successful and unsuccessful. To improve the management of water supply system, the system will be transferred and managed by the Chakkabok sub-district municipality instead of the village committees. However, causes of unsuccessful management are needed to be investigated and resolved before transferring the system. Therefore, the objectives of this study were to investigate problems regarding to the management of the water supply systems by village committees, to analyze the financial cost-benefit analysis and to approximate the optimum or minimum water supply rate for each village. The results indicated that the major problems of water management were lack of knowledge and understanding of water treatment plant design, quality control of tap water, financial management and water supply planning. It was suggested that the plant and water pipe network should be fixed to increase the efficiency of the systems. In addition, the financial cost-benefit analysis demonstrated that production costs in Ban Chak Ko Phai, Ban Nong Wa, Ban Map Ta Rot and Village No. 2, 8, 9 (Ban Nai Thaeo) were 6.40 -11.01 baht/cu.m and tap water rate was 10 baht/cu.m. This water rate was considered as appropriate, since the minimum internal rate of return (IRR) was11.65%, greater than the minimum attractive rate of return, MARR (8%) and the longest payback period was 6 years. For theothers, the tap water rates were suggested to increase to achieve appropriate investment.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมจัดการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐาน
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf15.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น