กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/595
ชื่อเรื่อง: การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ภาพรวมจรรยาบรรณวิชาชีพในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis and synthesis of professional ethics in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุหลาบ รัตนสัจธรรม
พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ
วิไล สถิตย์เสถียร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: จรรยาบรรณ
จริยธรรม
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงถึงส่วนร่วมและส่วนต่างของจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อสรุปเสนอแนะเชิงนโยบายการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา การปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาและปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยศึกษาเอกสารจรรยาบรรณวิชาชีพ สอบถามข้อมูลจากสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยภาครัฐในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 511 สาขาวิชา จาก 66 คณะ/สำนักวิชาของ 23 วิทยาลัย จัดเสวนาและวิพากษ์ผลการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เนื้อหา และผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาจำนวน 25 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการตรวจสอบสามเส้า วิเคราะห์การจัดอันดับ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าควอไทล์ พิสัยควอไทล์ และสัมประสิทธิ์การกระจาย พบผลวิจัยดังนี้ จรรยบรรณวิชาชีพทั้งหมดที่เป็นลายลักษณ์อักษรมี 48 จรรยาบรรณ คือจรรยาบรรณของสัตวแพทย์ นักวิจัย นักธรณีวิทยา นักเคมีอุตสาหกรรม สถาปัตยกรรม (2 จรรยาบรรณ) วิศวกรรม (2 จรรยาบรรณ) การใช้อินเตอร์เน็ท การทำประมง การกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกรรม เวชระเบียน จิตแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ แพทย์ ตำรวจและนักกฏหมาย (5 จรรยาบรรณ) มัคคุเทศก์ ครู นักบัญชี ตรวจสอบภายใน นักหนังสือพิมพ์ (2 จรรยาบรรณ) นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักการตลาด นักบริหาร ประชาสัมพันธ์ นักรัฐศาสตร์ เลขานุการ (2 จรรยาบรรณ) นักเศรษฐศาสตร์ ทนายความ ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ บรรณารักษ์ ศิลปิน นักธุรกิจ (2 จรรยาบรรณ) อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และข้าราชการพลเรือน ส่วนร่วมของจรรยาบรรณทุกกลุ่มสาขาวิชาคือ ผู้ประกอบวิชาชีพควรมี ความซื่อสัตย์สุจริต คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม รับผิดชอบ เคารพสิทธิผู้อื่น ไม่โกหกหลอกลวง และควรประกอบวิชาชีพโดย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ รักษามาตรฐาน ไม่ออกหลักฐานเท็จ ไม่ชักจูงผู้รับบริการผู้อื่นมาเป็นของตน รักษาความลับของผู้รับบริการ รักษาชื่อเสียง มีศรัทธาและคำนึงถึงความปลอดภัยของการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสวัสดิภาพ สุขภาพ และความปลอดภัยของประชาชน จากส่วนร่วมของจรรยาบรรณทั้งหมด ครวนำมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา การปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาและปลูกฝังจรรยาบรรณ โดยนำส่วนร่วมของจรรยาบรรณมากำหนดเป็นดัชนีชี้วัด และประเมินความพึงพอใจตามดัชนีชี้วัดเหล่านี้ ควรมีการกำหนด วัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่ชัดเจนและวัดได้ ตามดัชนีชี้วัด ควรมีเนื้อหาแทรกในทุกรายวิชา หากมีวิชาเฉพาะควรมีการดูงานและฝึกปฏิบัติด้วย ควรมีอาจารย์ที่เป็นตัวอย่าง มีกิจกรรมการสอดแทรกทั้งในและนอกหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างและปลูกฝังจรรยาบรรณให้เกิดการซึมเข้าไปในจิตใจตั้งแต่ต้น โดยให้มีการลงมือปฏิบัติ และประเมินผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งองค์กรวิชาชีพควรมีการนำคำสำคัญร่วมนี้ไปกำหนดในจรรยาบรรณ แล้วเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการรับบริการ และมีการปรับปรุงจรรยาบรรณให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในส่วนของส่วนต่าง องค์กรวิชาชีพสามารถนำไปกำหนดเป็นลักษณะเฉพาะของวิชาชีพเพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนของเอกลักษณ์วิชาชีพนั้น ๆ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/595
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
199840.pdf10.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น