กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/593
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Aanalysis of cost and return of sea bass cage farming Bang Pakong district, Chachoengsao province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑารัตน์ จุลศิริพงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ปลากะพงขาว - - การเลี้ยง - - ต้นทุนและประสิทธิผล
ปลากะพงขาว - - การเลี้ยง - - วิจัย
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการที่ประมงชายฝั่งได้รับผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง จึงมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ปลากะพงขาวเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่มีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยง เนื่องจากปลากะพงขาวเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ สามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจของผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังของเกษตรกรโดยเปรียบเทียบตามขนาดฟาร์ม ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนาการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ปรากฎว่าต้นทุนทั้งหมดต่อตารางเมตร ของรวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดใหญ่ เท่ากับ 8,838.96,13,243.95 และ 7,179.75 บาท ตามลำดับ และต้นทุนทั้งหมดต่อน้ำหนักปลากะพงขาว 1 กิโลกรัมเท่ากับ 89.45,98.08และ 84.34 บาท ตามลำดับ จากต้นทุนทั้งหมดแบ่งเป็นต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ ร้อยละ 90.94 และ 9.06 ตามลำดับ รายได้ต่อตารางเมตร ของรวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดใหญ่เท่ากับ 12,100.06, 15,013.12 และ 11,002.84 บาท ตามลำดับ รายได้ทั้งหมดต่อน้ำหนักปลากะพงขาว 1 กิโลกรัม ของรวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดใหญ่เท่ากับ122.48,111.17 และ 129.25 บาท ตามลำดับ สำหรับรายได้สุทธิเฉลี่ยต่อตารางเมตร ของรวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดใหญ่เท่ากับ 4,061.61,2,944.37 และ 4,482.47 บาท ตามลำดับ รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อน้ำหนักปลากะพงขาว 1 กิโลกรัมเท่ากับ 41.13,21.80 และ 52.66 บาท ตามลำดับ และเมื่อหักต้นทุนทั้งหมดออกจากรายได้ทั้งหมดแล้ว ปรากฎว่ารวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดใหญ่มีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อตารางเมตรเท่ากับ 3,261.10,1,769.17 และ 3,823.09 บาท ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อน้ำหนักปลากะพงขาว 1 กิโลกรัมเท่ากับ 33.03,13.09 และ 44.91 บาท ตามลำดับ เมื่อหักต้นทุนเงินสดออกจากรายได้ทั้งหมดแล้ว ปรากฎว่ารวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดใหญ่มีรายได้สุทธิเหนือต้นทุนเงินสดเฉลี่ยต่อตารางเมตรเท่ากับ 4,293.03,3,347.30 และ 4,649.66 บาท ตามลำดับ และมีรายได้เหนือต้นทุนเงินสดเฉลี่ยต่อน้ำหนักปลากะพงขาว 1 กิโลกรัมเท่ากับ 43.47,24.77 และ 54.62 บาท ตามลำดับ สาเหตุที่ฟาร์มขนาดใหญ่มีกำไรสุทธิมากกว่าฟาร์มขนาดเล็ก เพราะฟาร์มขนาดใหญ่สามารถผลิตปลากะพงขาวได้เฉลี่ยสูงกว่าฟาร์มขนาดเล็ก และขายได้ในราคาที่สูงกว่า ทำให้รายได้มากกว่า และยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ฟาร์มขนาดใหญ่มีประสบการณ์ และระยะเวลาในการเลี้ยงมานานกว่าฟาร์มขนาดเล็ก มีปัญหาทางด้านเงินทุนน้อยกว่าฟาร์มขนาดเล็ก ส่วนปัญหาที่ผู้เลี้ยงปลากะพงขาวพบมาที่สุด คือปัญหาเรื่องอาหารปลา ร้อยละ 93.05 รองลงมาคือปัญหาน้ำ ลูกพันธุ์ปลา โรคปลา และเทคนิคการเลี้ยงปลา ร้อยละ 91.67,88.89,77.78 และ 22.22 ตามลำดับ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/593
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น