กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5128
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถตนเองและการรับรู้ในการปฏิบัติตนในการเดิน วิ่งต่อ ระดับไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of the relationship of self-efficacy and perception of the walking-running behavior on body fat level, waist circumference and body mass index of the elderly
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัตถสิทธิ์ ไชยณรงค์
เลิศวัลลภ ศรีษะพลภูสิทธิ
จุฬาภรณ์ โสตะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: โรคอ้วน
การออกกำลังกาย
ดัชนีมวลกาย
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถตนเองและการรับรู้ในการปฏิบัติตน ในการเดิน-วิ่ง ต่อ ระดับไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุ กลุ่มประชากรที่ศึกษาในงานวิจัยในครั้งนี้ คือผู้สูงอายุ ที่มีอายุระหว่าง 60-80 ปี ที่ทำกิจกรรมเดินและวิ่ง ที่สวนสาธารณะหรือสนามกีฬา ที่อยู่ในมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี คำนวณจากจำนวนประชากรโดยข้อมูลประชากรสำนักงานทะเบียนราษฎร์กรมการปกครองจังหวัดกระทรวงมหาดไทยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 240 คน เก็บเพิ่มอีกร้อยละ 5 เพื่อกันข้อมูลเสียหาย จำนวน 18 คน รวมทั้งสิ้น 258 คน ซึ่งมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 64.4 และเพศหญิง คิดเป็น ร้อยละ 32.6 ตามลำดับ ส่วนอายุ ส่วนใหญ่อายุ 62 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.4 ความสัมพันธ์การรับรู้ความสามารถตนเองและการรับรู้ในการปฏิบัติตนในการเดิน – วิ่งต่อ ระดับ ไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุ พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองกับไขมันของร่างกาย ของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก ส่วนค่าคะแนนเฉลี่ยของคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติกับไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก กล่าวคือผู้สูงอายุมีความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติมากเท่าไร ก็จะส่งผลต่อกับไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย ดีขึ้น ค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามการปฏิบัติตัวในการเดิน-การวิ่ง กับไขมันของร่างกาย และรอบเอว ของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก กล่าวคือผู้สูงอายุมีการปฏิบัติตัวในการเดิน-การวิ่ง มากขึ้น ก็จะส่งผลให้ค่าระดับไขมันร่างกายและรอบเอว ดีขึ้น ส่วน ค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามการปฏิบัติตัวในการเดิน-การวิ่ง กับดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กันในเชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก กล่าวคือผู้สูงอายุมีการปฏิบัติตัวในการเดิน-การวิ่ง มากขึ้น ไม่ส่งผลหรือไม่มีผลในเชิงบวก ดัชนีมวลกาย ของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง การคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติและการปฏิบัติตนในการเดิน-วิ่ง ของผู้สูงอายุ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองในการเดิน-วิ่ง ของผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มากที่สุดคือ ท่านสามารถเดิน-วิ่ง โดยเริ่มจากระดับเบาไปหา ระดับที่หนักได้ (x̅= 4.19) และข้อที่รองลงมาคือ ท่านสามารถเตรียมความพร้อมก่อนการเดิน-วิ่ง และ หลัง (x̅= 4.12) และ ท่านสามารถหาสถานที่เดิน-วิ่ง ได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องการเดินทาง และมีความปลอดภัยเพียงพอ(x̅= 4.12)ส่วนที่ระดับน้อยที่สุดคือ ท่านสามารถเดิน-วิ่ง โดยการเดินวิ่งเหยาะๆ ต่อเนื่องกัน 30 นาที (x̅= 3.97) ส่วนค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามการคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติในการเดิน-วิ่ง ของผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มากที่สุดคือ มีความเชื่อว่าการการเดิน-วิ่ง จะสามารถทำให้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหายไป (x̅= 4.23) และข้อที่รองลงมาคือ มีความเชื่อว่าการเดิน-วิ่ง จะสามารถทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ทำการออกกำลังกายแล้วทำได้นานโดยไม่มีอาการเหนื่อย (x̅= 4.14)ส่วนที่ระดับน้อยที่สุดคือมีความเชื่อว่าการเดิน-วิ่ง อย่างถูกต้องทำให้ท่านมีระดับไขมันของร่างกาย รอบเอว ดัชนีมวลกาย อยู่ ในเกณฑ์ปกติ และไม่มีอาการเมื่อยล้าจากการปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลังกาย (x̅= 4.08)และมีความเชื่อเชื่อว่าการเดิน-วิ่ง ได้พบปะเพื่อนและมีคนรู้จักมากขึ้น(x̅= 4.08) และ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามการปฏิบัติตนในการเดิน-วิ่ง ของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มากที่สุดท่านมาเดิน-วิ่ง ต่อครั้งนานครั้งละ 30 ชั่วโมง (x̅= 4.21) และข้อที่รองลงมาคือ ท่านมาเดิน-วิ่ง อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 วัน ต่อสัปดาห์(x̅= 4.16) และ ท่านทำการอบอุ่นร่างกาย ก่อนและหลัง ทุกครั้ง(x̅= 4.16) ส่วนที่ระดับน้อยที่สุดคือท่านสำรวจความพร้อมของร่างกายก่อนเดิน-วิ่ง ในด้านสุขภาพ ว่าสามารถเดิน-วิ่ง ได้โดยปลอดภัยไม่เป็นอันตราย(x̅= 4.00)สรุปได้ว่าการที่ผู้สูงอายุที่มาเดิน-วิ่ง ในเขตเทศบาลแสนสุข นั้นการรับรู้ความสามารถตนเอง คาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติ และการปฏิบัติตนในการเดิน-วิ่งของ ผู้สูงอายุที่เป็นอาสาสมัคร มีการรับรู้และตระหนักเป็นอย่างดีว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์ แต่การที่จะมีรอบเอว ระดับไขมันใต้ผิวหนัง และค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องมีการสนับสนุน เช่น การดูแลเรื่องโภชนาการ การเข้มงวด การเดิน-วิ่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างร่างกายอย่างถูกต้องและปลอดภัย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5128
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2566_044.pdf1.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น