กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/497
ชื่อเรื่อง: กระบวนการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของนิสิตต่อวิชาชีพครู : การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Thinking process, feeling and behavior of student teachers on teaching profession: Transformative learning
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การฝึกหัดครู
นิสิต - - ทัศนคติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ - - นักศึกษา
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนรายวิชาหลัก วิชาชีพครู ศึกษากระบวนการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของนิสิตต่อวิชาชีพครู และกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือนิสิตชั้นปีที่ 2 เอกการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัย บูรพา ที่ลงทะเบียนรายวิชา 400102 หลักวิชาชีพครู ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 37 คน เมื่อจบ การเรียนการสอนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ตลอดภาคเรียนแล้ว นิสิตถูกเชิญเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งมีนิสิตจำนวน 37 คน อาสาสมัครยินดีเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 12 คน โดยแต่ละคนเป็นผู้ แทนของสมาชิกในแต่ละกลุ่มของการทำงานในการเรียนการสอน ดำเนินการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน และรวบรวมข้อมูลและผลงานต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยสมุดบันทึกการเรียนรู้ แบบประเมินตนเอง เอกสาร และผลงานของนิสิตจากกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน ภาพถ่าย และสมุดบันทึกอนุทินของผู้วิจัย การศึกษาครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ทำดรรชนีและเข้ารหัสข้อมูล ลดทอนข้อมูล และใช้การบรรยายและ ตีความจากข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์คำพูด ผลการวิจัยพบว่า 1. ปรากฏการณที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนรายวิชาหลักวิชาชีพครู มีบรรยากาศการเรียนการสอนและพฤติกรรม เชิงบวก นิสิตประทับใจในกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมมีความเหมาะสมและสามารถเสริมสร้างความคิด ความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพครู เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมอย่างมีความหมาย ท้าทายความสามารถ นิสิตมีความสุข และสนุกกับบทเรียนและได้รับประโยชน์ ผลการศึกษาพบว่านิสิตได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการคิด และวางแผนใน การเรียน มีความรับผิดชอบในการทำงาน และเกิดแรงบันดาลใจที่จะช่วยเหลือสังคม 2. นิสิตมีการพัฒนากระบวนการคิดอย่างไตร่ตรอง คิดทบทวนและพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างรอบคอบ มีมุมมองที่ดีต่อตนเอง ต่อวิชาชีพครู และต่อสังคม มีการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนอยู่ในระดับดีมาก มีความเชื่อมั่น เห็นคุณค่าในตนเองและการทำงาน 3. นิสิตมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมต่อวิชาชีพครูในด้านบวกมีทัศนคติ ที่ดีต่อวิชาชีพครู มีแรงบันดาลใจในการทำหน้าที่ครูที่ดี มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการมองสังคม และ มีแนวคิด ที่จะเป็นครูที่เสียสละ ทำหน้าที่ของตนเองเพื่อประเทศชาติ กล่าวคือเป็นการเปลี่ยนจิตสำนึกใหม่ของการเรียนรู้ อย่างแท้จริง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/497
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น