กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4689
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A model of sorking happiness under the concept of sufficiency economy of the healthcare professionals during the Covid-19 Pandemic
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิชนี ถนอมชาติ
วทัญญู สุวรรณเศรษฐ
คำสำคัญ: ความสุข
การทำงาน -- แง่จิตวิทยา
บุคลากรทางการแพทย์
เศรษฐกิจพอเพียง
โควิด-19 (โรค) -- การแพร่ระบาด
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สำรวจระดับความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และ 2. พัฒนาและยืนยันแบบจำลองความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการแพทย์ผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างระหว่างตัวแปรต่าง ๆ และลดความคลาดเคลื่อนในการเสนอผลการศึกษาเครื่องมือในการเก็บข้อมูลในการศึกษานี้ได้แก่แบบสอบถามปลายปิดแบบมีโครงสร้างที่พัฒนามาจากแนวคิดความสุขในการทำงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เก็บข้อมูลกับบุคลากรทางการแพทย์สถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการตอบกลับคืน จำนวน 318 ราย ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 8 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยมีความสุขด้านครอบครัวมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =3.56 และ S.D. = 0.56) และมีความสุขด้านสุขภาพที่ดี (ค่าเฉลี่ย = 3.44 และ S.D. = 0.56) อยู่ในลำดับน้อยที่สุด นอกจากนั้น เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในทุกองค์ประกอบและสามารถใช้อธิบายความสุขในการทำงานทั้ง 8 ด้านของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดีโดยมีค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (X2/df) เท่ากับ 1.19 ในขณะที่ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.95 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.92 และค่าดัชนีวัดระดับค่าความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.02 และเมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรในแบบจำลองพบว่า ตัวแปรทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และมีค่าเป็นบวกทุกด้าน ค่าดัชนีความสอดคล้องสัมพันธ์ (NFI) มีค่าเท่ากับ 0.95 โดยพบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบความสุขด้านการแสวงหาความรู้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายของตัวแปรย่อย ได้แก่ ความรับผิดชอบในงานมากที่สุดเท่ากับ 0.62 สามารถใช้อธิบายว่า ความรับผิดชอบในงานเป็นความสุขที่อธิบายความสุขด้านการแสวงหาความรู้เหมาะสมที่สุดถึงร้อยละ 62 ในขณะที่องค์ประกอบความสุขด้านสุขภาพดีมีค่าคะแนนน้ำหนักองค์ประกอบน้อยที่สุดในประเภทของความสุขทั้ง 8 ด้าน แต่อย่างไรก็ตามมีค่าคะแนนน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกทุกด้านอยู่ระหว่าง 0.75 – 0.89 และมีตัวแปรด้านการดำเนินชีวิตที่ดีซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย 0.80 ซึ่งเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายความสุขด้านสุขภาพดีได้มากที่สุดถึงร้อยละ 80
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4689
ISSN: 1906-9308
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
hrd12n1p8-26.pdf564.51 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น