กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4683
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการของจังหวัดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นที่ติดต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ : กรณีศึกษา จังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The province’s management style in driving the economy of the area, contacting the special economic zone: Case study in Sa Kaeo province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสรรค์ เกรียงไกร
ธีทัต ตรีศิริโชติ
คำสำคัญ: การพัฒนาเศรษฐกิจ -- ไทย -- สระแก้ว
เขตเศรษฐกิจ -- ไทย -- สระแก้ว
การวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการของจังหวัดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นที่ติดต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ : กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการทบทวนสถานะปัจจุบันจากการทบทวนวรรณกรรม ขั้นตอนที่ 2 เพื่อยืนยันผลการทบทวนวรรณกรรมและค้นหาปัจจัยที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด จึงดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก ขั้นตอนที่ 3 เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด โดยใช้เทคนิคเดลไฟล์ (Delphi Technic) ใช้แบบสอบถามจำนวน 3 รอบ ผู้เชียวชาญจำนวน 20 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 4 เป็นการสังเคราะห์รูปแบบและรับรองรูปแบบการจัดการของจังหวัดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ติดต่อกับเขตเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญจาก สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน 3 คน โดยการประชุมกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Induction Analysis) ผลการวิจัยพบว่า มีปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนอยู่ 15 ด้าน โดยการขับเคลื่อนต้องดำเนินการผ่านกลุ่มบุคคล 3 ฝ่ายคือ 1. เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ให้เกิดความร่วมมือจากทุกฝ่าย 2. ประชาชนและชุมชน ในพื้นที่ติดต่อกับพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ทำหน้าที่ให้เกิดกิจกรรมในระบบห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain ) ต่อเนื่องจากการที่นักลงทุนมาลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 3. นักลงทุนหรือผู้ประกอบการให้ความร่วมมือกับภาครัฐและประชาชน หรือชุมชนในพื้นที่ติดต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตนเข้าไปลงทุน ในการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าให้เกิดขึ้นในพื้นที่และชุมชน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของทุกภาคส่วนดีขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4683
ISSN: 1685-2354
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
104-120.pdf479.32 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น