กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4656
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเหมาะสมในการบริหารปกครองด้านอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยองภายใต้แนวคิดการบริหารปกครองท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The feasibility studying for flood management of the local administrative organization in the economic area of Rayong province under teh concept of local governance
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ พรมสืบ
จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
อุษณากร ทาวะรมย์
คำสำคัญ: การปกครองท้องถิ่น
อุทกภัย -- การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมในการบริหารปกครองด้านอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยองภายใต้แนวคิดการบริหารปกครองท้องถิ่น ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยองรวมทั้งสิ้น 30 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา แบบหน่วยบริบท ผลการวิจัยพบว่า ความเหมาะสมในการบริหารปกครองด้านอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยองภายใต้แนวคิด การบริหารปกครองท้องถิ่น ภาครัฐต้องลดบทบาทของรัฐลงและเปิดพื้นที่ให้กับ ตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจให้เกิดประโยชน์สาธารณะได้อย่างแท้จริง โดยรัฐมีบทบาทเป็นเพียงผู้กำกับและคอยประสานความร่วมมือ โดยรูปแบบที่เหมาะสมของการบริหารจัดการอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดระยองภายใต้แนวคิดการปกครองท้องถิ่น มีหลักการสำคัญประกอบด้วย ความร่วมมือระหว่างสมาชิกในเครือข่าย เป็นการสร้างความร่วมมือร่วมใจระหว่างสถาบันหรือองค์กรที่เป็นสมาชิกเครือข่ายองค์กร หลักการใช้การเจรจา เป็นการใช้การเจรจาของผู้กำหนดนโยบายกับตัวแสดงแทนกฎ ระเบียบ และคำสั่งเพื่อมิให้กระทบพฤติกรรมความร่วมมือที่มีอยู่ของผู้กำหนดนโยบายกับตัวแสดง หลักความยืดหยุ่น โดยเครือข่ายจำเป็นต้องเป็นองค์กรที่ยืดหยุ่น ผู้บริหารเครือข่ายใช้หลักความยืดหยุ่น และมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อจะนำไปสู่ผลลัพธ์ของโครงการ และความเชื่อถือและความไว้วางใจ โดยเครือข่ายมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันภายในเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ มีความไว้วางใจในหมู่สมาชิก เพื่อนำมาควบคุมกำกับดูแลการบริหารจัดการอุทกภัยให้เป็นไปตามกรอบนโยบายของภาครัฐที่ได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เพื่อเพิ่มขีดสมรรถนะให้สามารถสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4656
ISSN: 2651-1436
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1-20.pdf402.65 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น