กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4450
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง และความคงตัวของฟลาโวนอยด์ในสารสกัดดอกหางนกยูงฝรั่งแดง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment of Antioxidation activity, anticancer activity and stability of flavonoid-enriched extracts obtained from Delonix regia (Bojer.) Raf. red flower extract
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัชรพงษ์ แจ่มสว่าง
พุทธิพร คงแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
คำสำคัญ: มะเร็ง
หางนกยูง (พืช)
สมุนไพร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคมะเร็งเป็นโรคที่สร้างปัญหาให้กับวงการณ์แพทย์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีอุบัติการณ์การเกิดโรคที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาหาสารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งเพื่อพัฒนาให้ยาหรืออาหารเสริมในอนาคต โดยงานวิจัยครั้งนี้ให้ความสนใจไปที่สารสกัดจากดอกหางนกยูงที่สกัดด้วยวิธี mercaration ด้วย 95%ethyl alcohol พบว่าในสารสกัดมีสารในกลุ่ม flavonoid อยู่ในปริมาณสูง โดย flavonoid ที่พบจากการเทียบกับสารมาตรฐานด้วยวิธี high performance liquid chromatography (HPLC) คือ rutin, isoquercitrin และ myricetin โดยพบอยู่ในปริมาณ 4.15±0.30 % w/w, 3.04±0.02 %w/w, 2.61±0.01 % w/w ตามลำดับ และเมื่อทำการนำสารสกัดไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จำนวน 2 วิธี ได้ค่าการยับยั้งอนุมูลอิสระ IC50 ด้วยวิธี DPPH assay 66.88±6.30 μg/ml และ ABTS assay 53.65±7.24 μg/ml หลังจากนั้นในการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งพบว่าสารสกัดดอกหางนกยูงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง 5 ชนิดที่มีความแตกต่างจากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ murine leukemia (P-388), human cervical carcinoma (HeLa), human breast adenocarcinoma (MCF-7), human oral cavity carcinoma (KB) , human colon carcinoma (HT-29) ตามลำดับ โดย P-388 ที่มีความสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งสุงที่สุดเหลือ cell viability เพียง 35.28±4.07% อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าสารสกัดดอกหางนกยูงจะมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้านมะเร็ง แต่จากการทดสอบความคงตัวยังพบปัญหาสารสกัดที่สลายตัวได้ง่ายที่อุณหภูมิสูง ๆ โดยเฉพาะ myricetin ที่มีอัตราการสลายตัวเร็วที่สุด ในการศึกษาในอนาคตอาจทำการศึกษาพัฒนารูปแบบระบบนำส่งเพื่อช่วยรักษาความคงตัวของสารสกัดให้ดีขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ที่สะดวกขึ้น
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4450
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_147.pdf1.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น