กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4379
ชื่อเรื่อง: กลไกและกระบวนการจัดการผลประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Benefit Management Process and Mechanism for Community in Marine and Coastal Area with Various Economic Activities
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชราภา ตันตราจิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
ทรัพยากรทางทะเล
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานกิจกรรมการใช้ประโยชน์ด้าน เศรษฐกิจทางทะเลของพื้นที่ศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลร่วมกัน และ 3) เพื่อสังเคราะห์กลไกการจัดการผลประโยชน์การใช้พื้นที่ทางทะเลร่วมกันของชุมชน ศึกษากรณี พื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านมดตะนอย หมู่ที่ 4 บ้านบาตูปูเต๊ะ หมู่ที่ 5 บ้านหลังเขา หมู่ที่ 6 บ้านเจ้าไหม ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ผลการศึกษาพบว่า มีกิจกรรมเศรษฐกิจที่สาคัญ 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมการทำการประมง กิจกรรมการท่องเที่ยวกับทั้งกิจกรรมสืบเนื่องจากการท่องเที่ยว และกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งซึ่งดำเนินการควบคู่ไปกับกิจกรรมประมงและท่องเที่ยวโดยการทำการประมงเป็นอาชีพหลัก กิจกรรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมสืบเนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นอาชีพเสริม กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลมีความสัมพันธ์กับการทำการประมงและการท่องเที่ยว คือ การทำการประมงเป็นไปเพื่อการดำรงชีพของชุมชนเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันการอนุรักษ์สัตว์ทะเลก็สอดคล้องกับผลประโยชน์กิจกรรมการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นรายได้เสริมที่สำคัญของชุมชน และการมีสัตว์น้ำหมุนเวียนจากการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลก็ช่วยให้การทำการประมงเกิดความยั่งยืน กิจกรรมทางทะเลและชายฝั่งนั้นจึง ผลักดันหนุนเสริมกันในเชิงบวก ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนภายในชุมชนเป็นหลัก มีกลไกการจัดการ ผลประโยชน์สามลักษณะคือ 1) การจัดการโดยชุมชน นำโดยเครือข่ายผู้นาชุมชน คือ กติกาชุมชน วิถี วัฒนธรรมชุมชน 2) การจัดการร่วมระหว่างรัฐกับชุมชน เช่น การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในทะเล และ 3) การจัดการโดยรัฐ ผ่านกฎหมาย เช่น กฎหมายประมง กฎหมายการใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า กลไกขับเคลื่อนสำคัญคือ ความร่วมมือชุมชนที่มีพัฒนาการมาจากกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลในอดีต เป็นกลไกที่รัฐมิได้สร้างขึ้นมา แต่มาจากร่วมกันสร้างกระบวนการระหว่างชุมชนกับองค์กรพัฒนาเอกชน มีการประสานงาน และการทำงานเป็นเครือข่าย มีการเรียนรู้ร่วมกัน ลดข้อขัดแย้งระหว่างกันของคนในชุมชน ต่อมาได้เปิดให้รัฐเข้ามาร่วม เกิดการประสานงานร่วมกันระหว่างรัฐกับชุมชนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
รายละเอียด: สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4379
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_073.pdf7.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น