กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/436
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความต้องการการพัฒนาทางวิชาการของครูผู้สอนศิลปศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 จังหวัดภาคตะวันออก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญเสริม วัฒนกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ครูศิลปศึกษา - - ไทย (ภาคตะวันออก)
ศิลปะ - - การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ศิลปะ - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาทางวิชาการและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก 7 จังหวัด โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนศิลปศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนละ 1 คน ประกอบด้วยโรงเรียนมัธยมศึกษา 30 โรงเรียนประถมศึกษา 298 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากเอกสารวิชาการและข้อมูลการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบระหว่างครูผู้สอนศิลปศึกษาระดับประถมศึกษาและครูผู้สอนศิลปศึกษาระดับมัธยมศึกษาในสาระความรู้ทางศิลปะ 4 แกน และด้านการจัดการเรียนการสอน 1 ด้าน สถิติในการวิจัยในครั้งนี้ใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1. ศิลปะปฏิบัติ ครูผู้สอนศิลปศึกษาระดับประถมศึกษา มีความต้องการการพัฒนาในด้านศิลปะปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การพัฒนาด้านการเขียนภาพระบายสี ระดับความต้องการการพัฒนาทางวิชาการรวมทั้งด้านอยู่ในระดับดีมากส่วนครูผู้สอนศิลปศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีความต้องการการพัฒนาในด้านศิลปะปฎิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การพัฒนาด้านการเขียนภาพระบายสี ระดับความต้องการการพัฒนาทางวิชาการรวมทั้งด้านอยู่ในระดับมาก 2. สุนทรียศาสตร์ ครูผู้สอนศิลปศึกษาระดับประถมศึกษา มีความต้องการการพัฒนาในด้านสุนทรียศาสตร์อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การพัฒนาด้านสุนทรียศาสตร์ ระดับความต้องการการพัฒนาทางวิชาการรวมทั้งด้านอยู่ในระดับมาก และครูผู้สอนศิลปศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความต้องการการพัฒนาในด้านสุนทรียศาสตร์อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การพัฒนาด้านสุนทรียศาสตร์ระดับความต้องการการพัฒนาทางวิชาการทั้งด้านอยู่ในระดับมาก 3. ประวัติศาสตร์ศิลป์ ครูผู้สอนศิลปศึกษาระดับประถมศึกษามีความต้องการการพัฒนาทางวิชาการในด้านประวัติศาสตร์ศิลป์อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การพัฒนาด้านประวัติศาสตร์ ศิลปศึกษาไทย ระดับความต้องการการพัฒนาทางวิชาการรวมทั้งด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนครูผู้สอนศิลปศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีความต้องการการพัฒนาทางวิชาการในด้านประวัติศาสตร์ศิลป์อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การพัฒนาด้านประวัติศาสตร์ศิลปศึกษาไทยระดับความต้องการการพัฒนาทางวิชาการรวมทั้งด้านอยู่ในระดับมาก 4. ศิลปวิจารณ์ ครูผู้สอนศิลปศึกษาระดับประถมศึกษามีความต้องการการพัฒนาทางวิชาการในด้านศิลปวิจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การพัฒนาด้านการประเมินค่าผลงานศิลปะ ระดับความต้องการการพัฒนาทางวิชาการรวมทั้งด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนครู ผู้สอนศิลปศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความต้องการการพัฒนาทางวิชาการในด้านศิลปวิจารณ์อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การพัฒนาด้านการประเมินค่าผลงานศิลปะ ระดับความต้องการการพัฒนาทางวิชาการรวมทั้งด้านอยู่ในระดับดีมาก 5. ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนศิลปศึกษาระดับประถมศึกษามีความต้องการการพัฒนาทางวิชาการในด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การพัฒนาด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ระดับความต้องการการพัฒนาทางวิชาการรวมทั้งด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนครูผู้สอนศิปศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความต้องการการพัฒนาทางวิชาการในด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับความต้องการการพัฒนาทางวิชาการรวมทั้งด้านอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะของครูผู้สอนศิลปศึกษา ครูผู้สอนศิลปศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้ข้อเสนอแนะถึงความต้องการพัฒนาที่เหมือนกันใน 2 ประเด็น คือ ความต้องการการพัฒนาทางวิชาการในทุก ๆ ด้าน และความต้องการให้มีการจัดฝึกอบรมแก่ครูผู้สอนศิลปะศึกษาที่แตกต่างกัน คือ ครูผู้สอนศิลปศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาต้องการให้ในโรงเรียนมีครูผู้สอนศิลปศึกษาที่จบตรงสาขามาสอน ส่วนครูผู้สอนศิลปศึกษาในระดับมัธยมศึกษาต้องการให้มีแหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนการสอนที่เพียงพอ Abstract This research has its objective in conducting a study into the need for academic development and suggestions Art Education’s learning process of teachers in the Office of basic Education in 7 eastern province. The sampling group comprised Teachers teaching art education in school attached to the Office of Basic Education, one teacher from each school. It composed of 30 students of Secondary School, 298 students in Primary School ,using with Stratified as the research tool with the questionnaires prepared by the researcher tool questionnaires prepared by the researcher. The questionnaire was made from academic papers and research information. Analysis data by comparing of teachera at primary and secondary levels on ภ axes in art knowledge and in one category of learning process. The statistics in this research had been in percentage and average. The research came out with following results : 1. Art practice – At primary level, the teachers were of the need for improving of art practice at great level, for instance, development in color painting, academic development was in high requirements while the teachers at Secondary School needed a lot of development at color painting in practicing field and also at high demand on academic development too. 2. Aesthetics – At primary level, the teacher were of the need for improving aesthetics and at high demand on academic development and the teachers of aesthetics in secondary level needed a greater development in academic development 3. Art History – The most wanted fild in art history was with the development of study on Thai art history, but the teachers at secondary level were concentrated with the development of thai art history at top, following up with the development for academic improvement. 4. Art Criticism – The teachers at primary level require development in art criticism at number one, following with art evaluation and also at high demand on academic development. The teachers at secondary level wanted to development of art criticism the most, comprising the development on art evaluation art evaluation and level of the need for academic development at very high demand. 5. Administration in Learning Process – On the administration of learning process, the teacher at secondary required the development the development of academic administration which comprises the development of learning, the level of academic development at great demand. The art teachers in secondary wanted the greatest level of development at learning process which comprises the development related to process of learning and academic need at great level. Suggestions in improving art education’s learning process of teacher at primary and secondary levels need for all academic development and need training, the teachers at primary level need for the school has art teacher who have specific who have specific artist degree, the teachers at secondary level need for have enough learning sources and materials.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/436
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น