กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4343
ชื่อเรื่อง: การประเมินความต้องการที่จำเป็นเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลบนฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Need Assessment to Develop Training Curriculum in Marine Science on New Normal for Junior High School of the Institute of Marine Science, Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชรี ทองอำไพ
วิไลวรรณ พวงสันเทียะ
วิราวรรณ บุญช่วยแล้ว
จิรศักดิ์ แช่มชื่น
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: การฝึกอบรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการที่จำเป็นและแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล บนฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 186 คน ที่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล พ.ศ. 2560-2562 และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอนและผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีการศึกษาและฝึกอบรม รวมจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความคิดเห็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เกี่ยวกับความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล บนฐานวิถีชีวิตใหม่ และแบบสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล เกี่ยวกับความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการที่จำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัย พบว่า 1. หัวข้อการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่เหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คือ หัวข้อสิ่งแวดล้อมทางทะเล หัวข้อความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล และหัวข้อการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชทะเล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะและกระบวนการเรียนรู้ การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ และการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล 2. เนื้อหาสาระของหลักสูตรฝึกอบรม ควรเชื่อมโยงเนื้อหาการเรียนรู้กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสรุปเป็นองค์ความรู้ที่ชัดเจน เรียงลำดับการเรียนรู้จากง่ายไปยาก เน้นให้ผู้เรียนได้ทดลองและปฏิบัติจริง 3. การฝึกอบรม ณ ที่ตั้ง ควรใช้ระยะเวลา 3 วัน และการฝึกอบรมผ่านระบบ Tele conference ควรใช้ระยะเวลา 15-20 นาที โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ 4. วิทยากรควรผสมผสานเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบการบรรยาย การเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายร่วมกัน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การทัศนศึกษานอกสถานที่ และการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่าง ๆ 5. ควรดำเนินการติดตามและประเมินผลโครงการ อย่างน้อย 2 ครั้ง คือ หลังสิ้นสุดการฝึกอบรมโดยทันที และหลังจากสิ้นสุดการฝึกอบรมไปแล้ว ประมาณ 3-6 เดือน
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประเภทงบประมาณเงินอุดหนุนการวิจัยจากเงินรายได้ส่วนงาน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4343
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_180.pdf1.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น