กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4273
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอนุรัตน์ อนันทนาธร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2021-07-04T07:47:56Z
dc.date.available2021-07-04T07:47:56Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4273
dc.description.abstractการวิจัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์การจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชน ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนฯ และ (3) เพื่อศึกษาตัวแปร ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชน เป็นการวิจัยเชิงผสม การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจาก สมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ใน 7 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสระแก้ว จำนวน 938 คน การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ โดยกาหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ เพื่อยืนยันผลการวิจัยเชิงปริมาณและ ข้อเสนอแนะ การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้วิเคราะห์โดยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t และการวิเคราะห์ผลทางคุณภาพใช้การวิเคราะห์แบบพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า วิสาหกิจชุมชนของตนมีนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดการเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับองค์กร โดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.00) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ประเด็น เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดการด้วยการมีคุณธรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.11) รองลงมาคือ ด้านการจัดการด้วยความมีเหตุผล (ค่าเฉลี่ย = 3.99) การสร้างภูมิคุ้มกัน (ค่าเฉลี่ย = 3.99) ด้านจัดการด้วย ความพอประมาณ (ค่าเฉลี่ย =3.93) และด้านการมีความรู้ (ค่าเฉลี่ย = 3.93). (2) ปัจจัยองค์กรที่มีผลต่อการ จัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า วิสาหกิจชุมชนที่มีระดับตลาด ประเภท ลักษณะการดำเนินการ ระยะเวลาในการดำเนินงาน จำนวนเงินลงทุน ที่มาของแหล่งเงินทุน จำนวน สมาชิก และจังหวัดที่ตั้งของวิสาหกิจชุมชนต่างกัน มีระดับการจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชน ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) อิทธิพลของ ตัวแปรตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5 ตัวแปร ได้แก่ การมีความรู้ด้านความมีเหตุผล ด้านการมีคุณธรรม ด้านการมีภูมิคุ้มกัน และด้านความพอประมาณ ตามลำดับ มีอิทธิพลทางบวกกับประสิทธิผลของการ จัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถร่วมกันพยากรณ์ตัวแปรตามได้ร้อยละ 80.7 และ (4) พบว่าวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกของไทยที่ยังสามารถดำเนินกิจการอยู่ได้ด้วยความมั่นคง ส่วนใหญ่จะใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการพื้นฐานของการจัดการวิสาหกิจของตนให้มีความมั่นคงและผู้วิจัย เสนอแนะให้ภาครัฐและวิสาหกิจชุมชน นำหลักการพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเสริมสร้างความมั่นคงให้วิสาหกิจชุมชนให้มากขึ้นโดยเฉพาะการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรและสมาชิก การสะสมเงินออม การพัฒนาขยายต่อโดยความมีเหตุมีผล และการบริหารจัดการโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมและความโปร่งใสth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectวิสาหกิจชุมชนth_TH
dc.subjectวิสาหกิจชุมชน -- การจัดการth_TH
dc.subjectความมั่นคงth_TH
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียงth_TH
dc.subjectสาขาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleการจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชน ตามแนวคิดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงth_TH
dc.title.alternativeThe security management of community enterprises according to the royal sufficiency economy philosophyen
dc.typeArticleth_TH
dc.issue3th_TH
dc.volume11th_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are (1) to study and analyze the security management of community enterprises according to the Royal Sufficiency Economy Philosophy; (2) to examine the influence that impacts on the security management of community enterprises; and, (3) to study the factors according to the Royal Sufficiency Economy Philosophy which affect the effectiveness of the security management of community enterprises. This study is mixed- method research. Regarding the quantitative method, questionnaires were used to collect the research data from 938 community enterprise members in 7 provinces located in the Eastern region including Chanthaburi, Chachoengsao, Chonburi, Trat, Prachinburi, Rayong and Sakaeo. In relation to the one-way ANOVA and Multiple regression, the statistical significance is set at .05. With regard to the qualitative method, documentary research and interview are employed to ensure the result of the quantitative research. The result of this research shows that; (1) overall, the majority of community enterprise members agreed that their community enterprises adopt the Royal Sufficiency Economy Philosophy in order to strengthen their organizations, with a mean of x̅=4.00. Considering one-byone issue, all of 5 issues were ranked as “High”. The rankings from the highest to the lowest are management with virtue (x̅= 4.11), management with rationality (x̅= 3.99) Immunity building (x̅= 3.99), management with modesty (x̅= 3.93) and management with knowledge (x̅= 3.93); (2) In terms of organizational factors that affect the security management of community enterprises according to the Royal Sufficiency Economy Philosophy, overall, it is found that community enterprises with different targeted customers, types, operations, operation periods, amount of invested capital, sources of capital, number of members and location significantly adopt different security management of community enterprises according to the Royal Sufficiency Economy Philosophy with the statistical significance at .05; (3) 5 factors according to the Royal Sufficiency Economy Philosophy consisting of knowledge, rationality, virtue, immunity and modesty, respectively, significantly have a positive influence on the effectiveness of security management of community enterprises with the statistical significance at .05 which can be co-forecasted 80.7% of the variables; and, (4) it can be indicated that the majority of active community enterprises in the Eastern region of Thailand adopts the Royal Sufficiency Economy Philosophy as the main principle for community enterprise management in order to strengthen the organizations. The researcher suggests that the government and community enterprises should adopt the Royal Sufficiency Economy Philosophy as the strengthening mechanism at the higher level, especially, immunity building by developing the potential of personnel and members, increasing savings, further developing the organization with rationality as well as managing with virtue, ethics and transparency.en
dc.journalวารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมายth_TH
dc.page683-703th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
683-703.pdf396 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น