กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4062
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย Helicobacter pylori และต้านการอักเสบของสาร 4-methoxycinnamaldehyde ที่ได้จากเหง้าเร่วหอมเพื่อใช้พัฒนาเป็นยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on anti-helicobacter pylori and anti-inflammatory of 4-metoxycinnamaldehyde isolated from etlingera pavieana rhizome for development as anti-peptic ulcer agent
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล่าวขวัญ ศรีสุข
พรรณนิภา ศิริเพิ่มพูล
ปริยา ปะบุญเรือง
วรนาฎ จงโยธา
ณัฎฐกานติ์ จิรัณธนัฐ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: โรคแผลในกระเพาะอาหาร
ยา - - การใช้รักษา
กระเพาะอาหาร - - โรค
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สาร Trans-4-methoxycinnamaldehyde (MCD) ที่แยกจากเหง้าของเร่วหอม แสดงฤทธิ์ต้านอักเสบ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบกลไกการต้านอักเสบของสาร MCD ในการศึกษานี้ทำการตรวจสอบกลไกต้านการอักเสบของสาร MCD ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่เหนี่ยวนำด้วยไลโพพอลิแซคคาร์ไรด์ (LPS) และพบว่าสาร MCD สามารถยับยั้งการผลิต nitric oxide, prostaglandin E2 และ tumor necrosis factor- ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น สาร MCD ยับยั้งการแสดงออกของเอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS) และ cyclooxygenase-2 (COX-2) ในระดับโปรตีนและ mRNA นอกจากนี้ยังยับยั้งการฟอสโฟรีเลชันของโปรตีน inhibitory B (IB) และการเคลื่อนที่เข้าสู่นิวเคลียสของ nuclear factor-B (NF-B) p65 สาร MCD ยังยับยั้งการฟอสโฟรีเลชันบนเอนไซม์ JNK แต่ไม่ยับยั้งเอนไซม์ ERK และ p38 mitogen-activated protein kinases (MAPKs). นอกจากนี้ทำการประเมินฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของ สาร MCD ต่อเชื้อ Helicobacter pylori 3 สายพันธุ์ คือ ATCC43579 (Amoxicillin-resistant strain), ATCC43504 (Metronidazole-resistant strain) และ ATCC700392 (Tetracycline-resistant strain) และพบว่าสาร MCD มีค่า minimum inhibitory concentration (MIC) ต่อเชื้อทั้ง 3 สายพันธุ์ เท่ากับ 80 μg/mL ยิ่งกว่านั้นทำการศึกษาฤทธิ์รวมระหว่างสาร MCD กับยา amoxicillin ในการยับยั้งการเจริญของ H. pylori โดยวิธี Checkerboard agar dilution เพื่อวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิภาพรวมของการออกฤทธิ์ยับยั้ง (Fractional inhibitory concentration indicies; FICI) พบว่าสาร MCD กับยา amoxicillin มี additive effect ต่อเชื้อ H. pylori ATCC43504 ด้วยค่า FICI เท่ากับ 1.0 ในขณะที่มี indifference effect ต่อเชื้อ H. pylori ATCC43579 และ ATCC700392 (FICI เท่ากับ 1.0-1.75) ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ต้านอักเสบของสาร MCD ที่เกิดโดยผ่านการยับยั้งการผลิต nitric oxide, prostaglandin E2 และ tumor necrosis factor- โดยการห้ามวิถีสัญญาณ NF-B และ JNK/MAPK เราแสดงให้เห็นว่าสาร MCD มีศักยภาพที่จะนาไปพัฒนาเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ นอกจากนี้สาร MCD ยังอาจนาไปใช้เป็นยา anti-Helicobacter ชนิดใหม่ในลักษณะใช้สารเดี่ยวหรือใช้รวมระหว่างสาร MCD กับยา amoxicillin
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4062
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_233.pdf1.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น