กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4050
ชื่อเรื่อง: การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา: กรณีการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เมทินา อิสริยานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ขยะ - - การจัดการ - - ฉะเชิงเทรา
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนปัญหาการจัดตั้งโรงงานการจัดของเสียอันตรายในภาคตะวันออกที่ผ่านมา และศึกษาการขยายตัวของปัญหาขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งนำเสนอมาตรการในการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้วิธีวิทยาการศึกษาประวัติศาสตร์เชิงโครงสร้างอยู่ภายใต้ฐานคิดที่สาคัญ 2 ประการ คือ การศึกษาสังคมโดยอาศัยหลักวิภาษวิธีและการศึกษาสังคมแนวสหวิทยาการแบบข้ามพ้นสาขาวิชา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมมีความรุนแรงมากเป็นพิเศษในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น มีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกและจังหวัดใกล้เคียงกว่า 40 แห่ง หลายพื้นที่กลายเป็นที่รองรับขยะอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบ เฉพาะในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ซึ่งพบการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมจากนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี มาลักลอบทิ้งอย่างน้อย 11 จุด ในเขตอำเภอพนมสารคาม และอำเภอแปลงยาว ทำให้ชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนต้องรวมตัวกันประท้วงโรงงานรับบำบัดและกำจัดของเสียในพื้นที่ จนนำไปสู่การลักลอบสังหารแกนนำชุมชนที่ตำบลหนองแหน การขยายตัวของปัญหาขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมในช่วง พ.ศ. 2558 2560 ที่ผ่านมา พบว่า รัฐบาลมีเป้าหมายในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล เป็นผลให้รัฐบาลได้ออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติออกประกาศต่าง ๆ เพื่อเป็นการยกเว้นกฎหมายที่เป็นข้อขัดข้องหรืออุปสรรคจากข้อกำหนดทางกฎหมาย เช่น มีคาสั่งให้ยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยังมีปัญหาการกำกับดูแลไม่ให้โรงงานก่อมลพิษจนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่รอบและใกล้เคียงกับโรงงาน ซึ่งจากการศึกษามีข้อเสนอมาตรการในการจัดการขยะของสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดฉะเชิงเทรา 3 ประการ คือ (1) กาหนดให้นิคมอุตสาหกรรมแต่ละนิคมมีศูนย์รับบำบัดและกำจัดของเสียอุตสาหกรรมประจำนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขนย้ายกากของเสียอุตสาหกรรมออกนอกพื้นที่ (2) จัดการปัญหาการทิ้งขยะอุตสาหกรรมปนกับขยะชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยงการขนย้ายขยะอุตสาหกรรมมาทิ้งปะปนกับขยะชุมชน และ (3) สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ ในการกำกับดูแลบ่อขยะชุมชนและการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งในส่วนที่เป็นกิจการโรงงานและร้านรับซื้อของเก่า
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4050
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_219.pdf978.84 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น