กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4020
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยเพื่อควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยที่เก็บรักษาแบบแช่แข็งแบบเทคโนโลยีดั้งเดิมและแบบกล่องโฟม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Application of Thai medicinal plants for controlling human and aquatic animals pathogenic bacteria in Penaeus merguiensis spermatophores cryopreserved by conventional method and styrofoam box
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: แบคทีเรียก่อโรค - - การควบคุมคุณภาพ
สมุนไพร - - การใช้ประโยชน์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้สมุนไพรไทยเพื่อควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยที่เก็บรักษาแบบแช่แข็งแบบเทคโนโลยีดั้งเดิมและแบบกล่องโฟม ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง โดยการทดลองแรกเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการแช่แข็งถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) แบบกล่องโฟมด้วยการประยุกต์ใช้สารสกัดขิง (Zingiber officinale Roscoe) และใบมะรุม (Moringa oleifera Lam.) ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะ Penicillin-Streptomycin (PS) ความเข้มข้น 0.1% จากการศึกษาพบว่า สารสกัดใบมะรุมมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับประยุกต์ใช้ในการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยมากกว่า สารสกัดขิง ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพในการรักษาเปอร์เซ็นต์สเปิร์มที่มีชีวิตของกุ้งแชบ๊วยในชุดการ ทดลองที่เติมสารสกัดใบมะรุมและชุดการทดลองที่เติมสารสกัดขิงมีค่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ตลอดการเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยเป็นระยะเวลา 1 ปี แต่สารสกัดใบมะรุมมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดในถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยได้ดีกว่าสารสกัดขิง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับการเติมยาปฏิชีวนะพบว่าสารสกัดสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดนี้ยังมีประสิทธิภาพต่ำกว่ายาปฏิชีวนะ PS ในด้านการกำจัดแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดในการทดลองตอนที่ 2 เป็นการศึกษาแบบแผนความไวต่อยาปฏิชีวนะและยีนความรุนแรงในการก่อโรคกลุ่ม Narrow-spectrum beta-lactamase (NSBL ได้แก่ blaTEM, blaSHV และ blaPSE-1), Extended-spectrum beta-lactamase (ESBL ได้แก่ blaTEM, blaSHV และ blaCTX-M) และ AmpC beta-lactamase (ได้แก่ blaCMY-1 และ blaCMY-2) ของแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ PS และสารสกัดขิงและใบมะรุม ที่แยกได้จากถุงน้ำเชื้อกุ้งแชบ๊วยแช่แข็ง โดยพบว่าแบคทีเรีย ส่วนใหญ่มีความไวต่อยาปฏิชีวนะที่ทำการศึกษาในครั้งนี้จำนวน 18 ชนิด ยกเว้น Plesiomonas shigelloides ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Cefoxitin, Cephalotin, Sulfonamides และ Trimethoprim-sulfamethoxazole ส่วน Staphylococcus aureus subsp. aureus พบว่าดื้อต่อยาปฏิชีวนะ 2 ชนิด ได้แก่ Sulfonamides และ Tetracycline และ Staphylococcus epidermidis / S. lugdunensis ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ Tetracycline และแบคทีเรียชนิดสุดท้ายที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ คือ Tatumella ptyseos ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด ได้แก่ Ampicillin, Cefoxitin และ Cephalotin และไม่พบยีนความรุนแรงกลุ่มนี้ในแบคทีเรียก่อโรคในคนและสัตว์น้ำที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4020
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_182.pdf1.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น