กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4018
ชื่อเรื่อง: กลไกการออกฤทธิ์ของโอมิพราโซลยับยั้งการดูดซึมแมกนีเซียมในลำไส้เล็กของหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-dawley
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mechanism of omeprazole suppressed intestinal magnesium absorption in male Sprague-Dawley rats
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ฤทธิ์ ทองอุ่น
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: หนูขาว -- ปริมาณแมกนีเซียม
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: Acid peptic disorders คือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอันเนื่องมาจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารที่มากเกินไป รายงานทางการแพทย์บ่งชี้ว่าประชากรหลายล้านคนทั่วโลก การรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือยากลุ่มโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (proton pump inhibitors; PPIs) จึงทำให้ยากลุ่ม PPIs นี้เป็นหนึ่งในยาที่ขายดีที่สุดทั่วโลก และมีผู้ใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายล้านคนทั่วโลกเช่นกัน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 จนปัจจุบันมีรายงานทางการแพทย์หลายฉบับบ่งชี้ผลข้างเคียงของการใช้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs ติดต่อกันมากกว่า 1 ปี ทำให้ระดับ Mg2+ ในกระแสเลือดต่ำอย่างรุนแรง โดยสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการดูดซึม Mg2+ ผิดปกติ แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัย การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาผลของการให้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs ในหนูขาว ผลการทดลองจากโครงการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการให้ยา omeprazole ซึ่งเป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพราะอาหาร ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมีผลทำให้ปริมาณ Mg2+ ในกระแสเลือดของหนูลดต่ำลงกว่าปกติจริง คล้ายคลึงกับที่พบเจอในมนุษย์ เมื่อศึกษาระดับ Mg2+ ในปัสสาวะก็พบว่ามีระดับต่ำเช่นเดียวกัน บ่งชี้ว่าไม่มีการสูญเสีย Mg2+ ในปัสสาวะ จึงน่าจะมาจากการลดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ และเมื่อทำการศึกษาการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ก็พบว่า omeprazole มีฤทธิ์กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้จริง เป็นการยืนยันสมมุติฐานคือ omeprazole มีฤทธิ์กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ สัตว์กลุ่มที่มีระดับ Mg2+ ต่ำยังมีระดับ Vitamin D และ FGF-23 ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น แต่มีระดับ EGF ในกระแสเลือดลดลง แต่เมื่อศึกษาฤทธิ์ของฮอร์โมนต่อการดูดซึม Mg2+ พบว่า Vitamin D มีฤทธิ์เพิ่มการดูดซึม แต่ FGF-23 มีฤทธิ์กดการดูดซึม เป็นการศึกษาครั้งแรกที่บ่งชี้ว่าฮอร์โมนมีฤทธิ์ควบคุมการดูดซึม Mg2+ โดยตรง ควรศึกษาต่อเนื่องเกี่ยวกับกลไกควบคุมการดูดซึม Mg2+ ของ Vitamin D และ FGF-23 ต่อลำไส้เล็กต่อไป จากนั้นผู้วิจัยทำการศึกษากลไกที่ omeprazole กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ โดยศึกษาการขับ HCO3¯ ในลำไส้เล็กส่วน duodenum และยังศึกษาในแผ่นเซลล์เพาะเลี้ยง Caco-2 พบว่า omeprazole มีฤทธิ์เพิ่มการขับ HCO3¯ ในลำไส้เล็กส่วน duodenum และในแผ่นเซลล์เพาะเลี้ยง Caco-2 ทั้งนี้ HCO3¯ จะมีฤทธิ์ลดความเป็นกรดด้านโพรงลำไส้ ทำให้เกิดการตกตะกอนของ MgCo3 ทาให้ free Mg2+ ลดปริมาณ ส่งผลให้การดูดซึม Mg2+ ลดลง นอกจากนั้นจากการศึกษาก่อนหน้านี้ผู้วิจัยพบว่าลำไส้เล็กของหนูขาวที่ได้รับ omeprazole มีการหดสั้นลงของ villous การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงศึกษาการแสดงออกของ CD3 protien ซึ่งเป็น T cell receptor เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ พบว่า omeprazole เพิ่มการแสดงออกของ CD3 บ่งชี้ว่ามีการอักเสบ และเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้มีการหดสั้นลงของ villous และส่งผลให้ลดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4018
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_180.pdf1.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น