กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4001
ชื่อเรื่อง: นวัตกรรมการสกัดพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยาอย่างต่อเนื่องประสิทธิภาพสูงและได้มาตรฐานการผลิตทางเภสัชกรรมด้วยระบบบิวเทนภายใต้ความดันสูงร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์ยิ่งยวด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Pharmaceutical-grade, high-throughput, continuous medicinal herbs extraction combining liquefied butane and supercritical carbon dioxide technologies
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาณัติ ดีพัฒนา
อาลักษณ์ ทิพยรัตน์
ณัฎฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์
นพพล วีระนพนันท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
คำสำคัญ: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
กัญชา
กัญชง
พืชสมุนไพร
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: นวัตกรรมการสกัดพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยาอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพสูงและได้มาตรฐานการผลิต ทางเภสัชกรรมด้วยระบบบิวเทนภายใต้ความดันสูงร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์ยิ่งยวด คณะผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาระบบการสกัดด้วยของไหลภายใต้สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤต (Subcritical Extraction) กระบวนการสกัดที่พัฒนาขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาในการสกัดวัตถุดิบสดที่มีความอ่อนตัว เน่าเสียได้ง่าย ซึ่งในโครงการวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวทางการสกัดดอกมะลิสดจากสวนมะลิปลอดสาร โดยทำการทดสอบประสิทธิภาพในด้านปริมาณฟีนอลรวม ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย จากผลการทดสอบพบว่าสารสกัดหยาบจากดอกมะลิสดในส่วนที่ละลายน้ำมันมีประสิทธิภาพในด้านการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณฟีนอลรวมและฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าสารสกัดหยาบจากดอกมะลิสดในส่วนที่ละลายน้ำ ในโครงการวิจัยนี้ได้รับความร่วมมือจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ ในการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องสกัดจากกัญชาและกัญชง โดยได้ทำการเปรียบเทียบวิธีการสกัดที่แตกต่างกันรวมถึงการเตรียมตัวอย่างกัญชากัญชงก่อนการ สกัดส่งผลต่อปริมาณสารสำคัญที่แตกต่างกัน จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีโดยโครมาโทกราฟีแบบแก๊ส-แมสสเปกโทรเมทรี พบว่า สารสกัดหยาบจากกัญชาตากแห้งเมื่อสกัดด้วย R22 มีปริมาณ CBD CBC THC CBN น้อยกว่าการสกัดด้วย Soxhlet เพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาการสกัดพบว่าการสกัดด้วย Soxhlet ใช้ระยะเวลาสกัด 40 ชั่วโมง ในขณะที่การสกัดด้วย R22 ใช้ระยะเวลาการสกัด 3 ชั่วโมง ดังนั้นวิธีการสกัดด้วยเทคนิคการสกัดด้วยของไหลภายใต้สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤต โดย R22 และ R134a เป็นทางเลือกในการสกัดสารสกัดหยาบจากวัตถุดิบที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการวิจัยนี้จะเป็นองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทย ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีหรือการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรจากต่างประเทศ อีกทั้งระบบที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นในโครงการจะช่วยลดการใช้ตัวทำละลายที่มีการใช้กระบวนการสกัดโดยทั่วไป
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4001
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_167.pdf2.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น